เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • ไฟล์ต้นฉบับต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์เวิร์ด
  • วารสารใช้ระบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-blind Peer Review)
  • ใช้ตัวหนังสือขนาด 14 พอยต์ จัดระยะห่างระหว่างบรรทัดแบบบรรทัดเดียว ใช้ตัวอักษรตัวเอียงแทนการขีดเส้นใต้ จัดรูปภาพและตารางในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • จัดบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด โดยดูตัวอย่างได้ในหน้าเว็บไซต์
  • กรุณาเขียนชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ (กรณีคนไทย) และสังกัดของท่าน ในหัวข้อ "ข้อความถึงบรรณาธิการ"
  • ข้าพเจ้าและผู้นิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งตีพิมพ์อื่นใด หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  • ข้าพเจ้าและผู้นิพนธ์ร่วม ยอมรับนโยบายการพิจารณารับตีพิมพ์ผลงานของวารสารพิฆเนศวร์สาร ทั้งยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสิทธิพิจารณาและตรวจแก้ต้นฉบับได้ตามที่เห็นสมควร พร้อมนี้ขอมอบลิขสิทธิ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หากมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับภาพ แผนภูมิ ข้อความส่วนใดส่วนหนึ่ง และ/หรือข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ข้าพเจ้าและผู้นิพนธ์ร่วม ยินยอมรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว
  • หากกองบรรณาธิการวารสารพิฆเนศวร์สารตรวจพบว่าคำรับรองดังกล่าวไม่เป็นความจริง รวมทั้งหากข้าพเจ้าไม่ปฏิบัติตามนโยบายการพิจารณาตีพิมพ์ผลงานของวารสารพิฆเนศวร์สาร กองบรรณาธิการ มีสิทธิ์ยกเลิกบทความของข้าพเจ้าออกจากวารสารพิฆเนศวร์สารได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้า และข้าพเจ้าขอรับรองและยินยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นทุกประการ
  • ข้าพเจ้าได้อ่านข้อกำหนดในการส่งบทความของวารสารฯ ครบทุกข้อแล้ว และยอมรับตามข้อตกลงและเงื่อนไขของวารสารทุกประการ

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษองค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการให้ทำตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับนี้ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาก่อน
  2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว) ตั้งค่าหน้ากระดาษสำหรับการพิมพ์ห่างจากขอบบนกระดาษ 1 นิ้ว (2.5 นิ้ว เฉพาะหน้าแรก) ขอบล่าง 0.8 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 0.8 นิ้ว จัดสองคอลัมน์ (ยกเว้นบทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และเอกสารอ้างอิงให้จัดหนึ่งคอลัมน์) ความกว้างคอลัมน์ 2.98 นิ้ว ระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.25 นิ้ว ใส่หมายเลขหน้ากำกับอยู่ด้านบนขวาทุกหน้า
  3. รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อผู้นิพนธ์บทความใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ ชื่อหน่วยงานที่สังกัดและตำแหน่งทางวิชาการของผู้นิพนธ์บทความ (ถ้ามี) ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา เนื้อหาทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ
  4. จำนวนหน้า ไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ และเอกสารอ้างอิง
  5. ตาราง รูปภาพ ภาพลายเส้น แผนภูมิ และกราฟ หากมีขนาดเล็กให้แทรกไว้ในเนื้อหาที่จัดเป็น
    2 คอลัมน์ หากมีขนาดใหญ่ให้จัดเป็น 1 คอลัมน์ โดยให้ผู้นิพนธ์บทความคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อรูปภาพแผนภูมิ และกราฟให้อยู่ด้านล่าง พร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน
  6. การส่งต้นฉบับ 
    ส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) ผ่านระบบจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ThaiJo) ที่ Website: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/pikanasan
    พร้อมทั้งส่งแบบนำส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ หนังสือรับรองก่อนการตีพิมพ์ตามที่วารสารกำหนดและหลักฐานการโอนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ทางอีเมล์ [email protected]

ประเภทของบทความ

  1. บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากงานศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical study) หรือที่เรียกว่า งานวิจัย สาระของบทความสะท้อนให้เห็นขั้นตอนการดำเนินการศึกษา การนำเสนอผลการวิจัย
    อาจเป็นผลงานวิจัยบางส่วนหรือผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว
  2. บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้เขียนหรือถ่ายทอดจากผู้อื่นมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้
    องค์ความรู้ การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่าง ๆ

ส่วนประกอบของบทความ

  1. ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กระชับ และตรงกับเนื้อเรื่อง ให้ขึ้นต้นชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  2. ชื่อผู้นิพนธ์บทความ (Authors and co-authors) ใช้ชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อตัวและนามสกุล ไม่ระบุคำนำหน้าและตำแหน่งทางวิชาการ โดยจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษต่อจาก ชื่อเรื่อง หากเป็นนักศึกษาให้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นผู้นิพนธ์ร่วม ถ้ามีผู้นิพนธ์หลายคนให้ใช้หมายเลข 1 หรือ 2 กำกับไว้ท้ายชื่อตามจำนวนผู้นิพนธ์
  3. สังกัดผู้นิพนธ์บทความ (Affiliation) ใส่ชื่อหน่วยงานที่สังกัดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเรียงลำดับตั้งแต่หน่วยงานระดับต้นไปจนถึงหน่วยงานหลักต่อจากชื่อผู้นิพนธ์บทความ และใส่สถานะของผู้นิพนธ์โดยระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ที่เชิงอรรถของหน้าแรก กรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุระดับการศึกษาชื่อหลักสูตร สาขาวิชา และสถาบันการศึกษา
  4. บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 500 คำ และภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ จัดเป็น 1 คอลัมน์ โดยให้ลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
  5. คำสำคัญ (Keywords) ให้เขียนทั้งคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ โดยให้ระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
  6. เนื้อหาในบทความ (Main texts)
    • บทความวิจัย (Research article) ประกอบด้วย
      • บทนำ (Introduction) นำเสนอภูมิหลังความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยรวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลของการทำวิจัย
      • วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) นำเสนอจุดมุ่งหมายที่ต้องการศึกษา ค้นคว้าแสวงหาคำตอบในการวิจัย
      • สมมุติฐานการวิจัย (Hypothesis) (ถ้ามี) เป็นการนำเสนอคำตอบที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาที่ศึกษา ระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
      • กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) นำเสนอแนวคิด ทฤษฎี ตัวแปรที่ต้องการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ในลักษณะของแผนภาพ
      • วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology) นำเสนอแบบแผนการวิจัย เช่น การสำรวจ ศึกษาเอกสาร การทดลอง เป็นต้น
      • ประชากร (Population) นำเสนอคุณลักษณะและจำนวนให้ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด
      • กลุ่มตัวอย่าง (Sample) นำเสนอหลักเกณฑ์การกำหนด จำนวนตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง
      • เครื่องมือการวิจัย (Research instrument) นำเสนอชนิดของเครื่องมือ วิธีการสร้าง การทดลองใช้ (Try out) และการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย
      • การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) นำเสนอวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และระยะเวลาการรวบรวมข้อมูล
      • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) นำเสนอวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
      • ผลการวิจัย (Results) นำเสนอรายงานผลการวิจัยจากการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ในการวิจัยอย่างชัดเจนและตรงประเด็น โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นำเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ แทรกในเนื้อหาพร้อมอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้น ๆ กระชับ
      • สรุปผลการวิจัย (Conclusion) เป็นการสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญที่เกิดจากการทำวิจัย
      • การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการนำเสนอความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลงานวิจัยอะไรที่มาสนับสนุน
      • ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัย ไปใช้ (Suggestion) นำเสนอให้เห็นว่าสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ตลอดจนข้อเสนอแนะให้ผู้ที่จะทำวิจัยครั้งต่อไปในลักษณะเดียวกันทราบว่าควรจะศึกษาในประเด็นปัญหาหรือตัวแปรอะไรจึงจะทำให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อสรุปที่สมบูรณ์
    • บทความวิชาการ (Academic article) : ประกอบด้วย
      • บทนำ (Introduction) กล่าวถึงความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอ ก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่อง
      • เนื้อเรื่อง (Body) นำเสนอให้เห็นถึงปรากฏการณ์หรือองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นในวงวิชาการ ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของเหตุที่นำไปสู่ผล (Causal relationship) การอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ และเหตุผลที่พิสูจน์ได้ทางวิชาการ ซึ่งได้จากการศึกษาค้นคว้าและจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์บทความ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน
      • สรุป (Conclusion) สรุปประเด็นสำคัญ ๆ จากเนื้อเรื่องให้สั้น กระชับได้เนื้อหาสาระครบถ้วนของบทความ บอกผลลัพธ์ว่าสิ่งที่กล่าวมามีความสำคัญอย่างไร สามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง หรือจะทำให้เกิดอะไรต่อไป
  7. เอกสารอ้างอิง (Reference) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้นิพนธ์บทความได้นำมาอ้างอิงในบทความอย่างครบถ้วน

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อความและเอกสารอ้างอิง

     ใช้การอ้างอิงระบบ APA6th (American Psychological Association Citation Style) โดยแยกเป็น

 

การอ้างอิงในเนื้อความ (In-text Citations)

         การอ้างอิงในเนื้อความเป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author-Date in Text Citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ต่อท้ายข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (สนิท สัตโยภาส, 2556) แต่ถ้าชื่อผู้แต่งที่อ้างถึงเป็นส่วนหนึ่งของบทความให้วงเล็บเฉพาะปีที่พิมพ์ต่อจากชื่อผู้เขียน เช่น สนิท สัตโยภาส (2556) รูปแบบการอ้างอิง มีดังนี้

      • การอ้างอิงบุคคล คนไทยให้ลงชื่อตัวและนามสกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล
ตัวอย่างการอ้างอิง
ผู้แต่ง 1-2 คน
กรณีชื่อผู้แต่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความ
...สมเจตน์ ภูศรี และขจร ตรีโสภณากร (Phoosri and Treesopanakorn, 2018)
...Smith (2019)
 
กรณีชื่อผู้แต่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ
(Phoosriand and Treesopanakorn, 2018)
(Smith, 2019)
 
ผู้แต่ง 3 – 5 คน
กรณีชื่อผู้แต่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความ
ขจร ตรีโสภณากร, พรเทพ ลี่ทองอิน, และมงคลชัย บุญแก้ว (Treesopanakorn, Leethong-in, and Boonkaew, 2018)
 
กรณีชื่อผู้แต่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ
(Peterson, Smith, and Clare, 2019)
 
หากเป็นการอ้างผลงานเดิมในครั้งที่สอง ให้ใช้
ชื่อสกุลของผู้แต่งคนแรก และคำว่า “และคนอื่น ๆ” หรือ “et al.” แล้วตามด้วยปีที่พิมพ์
พรเทพ ลี่ทองอิน และคนอื่น ๆ (Leethong-in  et al., 2019)
(Peterson et al., 2019)
 
ผู้แต่ง 6 คน ขึ้นไป
ขจร ตรีโสภณากร และคนอื่น ๆ (Treesopanakorn et al., 2019)
(Treesopanakorn et al.. 2019)
 
การอ้างอิงผลงานหลายชิ้น ให้เรียงตามตัวอักษรของชื่อสกุลผู้แต่ง คั่นระหว่างด้วยเครื่องหมาย ;
(Johnson, 2019; Ortega, 2018; Peterson, 2019)
      • การอ้างอิงนิติบุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่ทำเอกสารให้ระบุชื่อหน่วยงานตามที่ปรากฏ
ตัวอย่างการอ้างอิง
(Chiang Mai Rajabhat University, 2019)

เอกสารอ้างอิง (References)

          เป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความ โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้นิพนธ์บทความได้ใช้อ้างอิงในเนื้อความ พร้อมจัดเรียงรายการเอกสารตามลำดับอักษรของผู้แต่ง ดังนี้

หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
 
ตัวอย่าง
Treesopanakorn, K. (2560). Handball. (2nd ed.). Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. [In Thai]
Buchanan, D. A. and Huczynski, A. A. (2019). Organi-zational behaviour. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
 
วารสารและนิตยสาร
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้า-หน้า.
 
ตัวอย่าง
Sakulsriprasert, S. (2022). The psychometric properties of teacher attributions testing.
                Journal of graduate research, 13(2), 103-116. [In Thai]
Ryve, A. and Hemmi, K. (2019). Educational policy to improve mathematics instruction at scale:
                Conceptualizing contextual factors. Educational Studies in Mathematics, 102(3), 379-394.
 
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง/ชื่อบทความ. สืบค้นจาก http://www …………
 
ตัวอย่าง
Phonvichai, T. (2016). Aec go on. Retrieved from http://www.thairath.co.th/content/613039 [In Thai]
Lawson, H. A. (2019). Social determinants of the physical education system.
                Retrieved from http://www.radpsynet.org/docs/wollman-attitude.html
 
รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม (น.เลขหน้า), วัน เดือน ปี สถานที่จัด.
                เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
 
ตัวอย่าง
Pinsuwan, S. and Keawnopparat, S. (2006). Experi-mental and computational studies of epithelial transport
                of mefenamic acid ester prodrugs. In The Thailand Research Fund (Ed.), RGJ-Ph.D. Congress VII 
                (pp. 15-29), April 20-22, 2006 Jomtien Palm Beach Resort Pattaya Chon Buri (p. 88).
                Thailand: The Thailand Research Fund.
 
วิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ
ชื่อผู้นิพนธ์. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, สาขาวิชา สถาบันการศึกษา).
 
ตัวอย่าง
katang, K. (2018). The management of learning resources to support the philosophy of the sufficiency economy,
                Ban Mae Daet Noi School, Galyani Vadhana district, Chiang Mai province. (Master thesis, Education and
                Administration Program, Graduate School Chaing mai Rajabhatuniversity). [In Thai] 

 

Download
คำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ

แบบนำส่งบทความพิฆเนศวร์สาร

 หนังสือรับรองก่อนตีพิมพ์พิฆเนศวร์สาร

ตัวอย่างการจัดรูปแบบบทความ

ขั้นตอนการพิจารณาบทความ