การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทรนิษฐ์ ศรีบุรีรักษ์
เปรมฤทัย แย้มบรรจง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารแช่เย็นและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวนทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี สถานภาพโสด มีอาชีพพนักงานเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ มีพฤติกรรมการซื้ออาหารแช่เย็นทุกวันในซุปเปอร์มาเก็ตและร้านสะดวกซื้อช่วงเวลา 16.01-18.00 น. และมักใช้จ่ายประมาณ 31-60 บาทต่อครั้ง และผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภาพรวมในระดับมาก และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ


          จากการทดสอบสมมติฐานลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของอาหารแช่เย็นในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ เพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อายุและอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมทางการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แต่เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chueansamran, U. & Gitkarun, T. (2013). Factors influencing consumers choice of quick – frozen meals offered in convenience stores around Bangkok. SDU Res. J., 9(3), 211-224. [in Thai]

GSB Research. (2016). Government Savings Bank’sReport of Trend and Situation Business and Industry on December 2016 (Quarter 4). Retrieved February 28, 2018, from https://www.gsb.or.th/getattachment/8f77ddd6-7c71-47f8-a4d5-33754ff059e0 [in Thai]

Intelligence Center Thailand. (2016). Ready to eat food in Thailand. Retrieved May 10, 2018, from https://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=124 [in Thai]

Nilkitsaranont, P. & Sathapongphakdee, P. (2017). Trend of Business / Industry 2017-2019 Modern Trade. Retrieved February 28, 2018, from https://www.krungsri.com/bank/getmedia/f1e844b6-74af-44df-9ba4-23dc9d0f7427/IO_Modern_Trade_2017_TH.aspx [in Thai]

Positioning. (2009). You want to know vocabulary about “Modernistic Food”. Retrieved February 28, 2018, from https://positioningmag.com/11467 [in Thai]

Positioning. (2017). Thai Retailer: Trend of Modern Trade in 2018 “O2O – Big Data”. Retrieved February 28, 2018, from https://www.brandbuffet.in.th/2017/12/thai-retail-association-reported-last-nine-month-of-retail-and-trends-forecast-2018/ [in Thai]

Sairojphun, J. (2017). Factors Affecting the Decision to use Supermarket of Consumers in Bangkok.M.B.A. Independent Study, Bangkok University. [in Thai]

Satitkhunarat, S. & Jantharaprathin, N. (2018). Report of Industry Innovation trend: Ready to eat group.Retrieved May 10, 2018, from https://stiic.sti.or.th/wp-content/uploads/2018/01-draft-2.pdf [in Thai]

Sererat, S. (1996). Consumer Behavior (Unabridge ed.). Bangkok: Pattanasuksa Printing. [in Thai]