ความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปิยนุช พละเยี่ยม
ชลิตา ศรีนวล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาคือ ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 385 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล


          ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครมีความรู้เกี่ยวกับบริการระบบพร้อมเพย์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และทัศนคติต่อบริการระบบพร้อมเพย์ด้านประโยชน์ของระบบพร้อมเพย์อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้านความง่ายในการใช้งานของระบบพร้อมเพย์ และด้านความไว้วางใจต่อบริการระบบพร้อมเพย์อยู่ในระดับเห็นด้วย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยทัศนคติด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน การรับรู้ความง่ายที่เกิดจากการใช้งาน ความไว้วางใจของผู้บริโภค มีอิทธิพลต่อระดับความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในส่วนของความรู้เกี่ยวกับบริการระบบพร้อมเพย์ไม่มีอิทธิพลต่อระดับความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.

BOT Phrasiam Magazine. (2017). Promptpay: First step of Nation e-payment for new economy. Retrieved April 5, 2017, from https://www.bot.or.th/Thai/phrasiam/Documents/Phrasiam_1_2560/Phrasiam_1_2560.pdf [in Thai]

Chaveesuk, S. & Wongchaturapat, S. (2013). Theory of acceptance model in Information technology. KMITL Information Technology Journal, 2(1), 1-21. [in Thai]

Daechasatean, C. (2015). Factors influencing customers satisfaction of KTB Netbank in Bangkok. Master of Business Administration, Graduate School, Bangkok University. [in Thai].

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness perceived ease of use and user acceptance of information technology. Management Information Systems Quarterly, 13(3), 319-339.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P. & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982-1003.

Education department BMA. (2014). Bangkok administration model. Retrieved December 5, 2017, from https://www.bangkokeducation.in.th [in Thai]

Government Saving Bank. (2016). Digital Banking in Thailand. Retrieved December 1, 2017, from https://bit.ly/2LUduKe [in Thai]

MCOT Newnetwork. (2016). The government pushes the system with a new dimension of transferring money to the digital age. Retrieved December 1, 2017, from https://bit.ly/2sZHdtX [in Thai]

Meesuwansukkul, A. (2010). Factors affecting intention behavior to use fnancial transaction via 3G service. Master of Business Administration, Burapha University. [in Thai]

Mhompalad, P. (2013). Trust on security of user towards mobile banking transaction in Bangkok. Master of Business Administration, Sripatum University. [in Thai]

Ministry of Finance. (2016). National e-Payment Master Plan. Retrieved December 1, 2017, from https://www.thaigov.go.th/index.php/th/news-ministry/2012-08-15-09-16-10/item/98592 [in Thai]

Rodthong, S. (2013). Behavioral intention in downloading mobile application among smartphone users. Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology. [in Thai]

Salam, A., Iyer, L., Palvia, P. & Singh, R. (2005). Trust in e-commerce. Communications of the ACM, 48(2), 73-77.

Uppadia, S. (2010). Perception factors of E-commerce affecting the decision of fnancial service usage on

E-commerce consumers in Bangkok. Master of Business Administration, Bangkok University. [in Thai]