ปัญหาการบังคับใช้สิทธิในงานแพร่เสียงแพร่ภาพภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย: กรณีศึกษาฟุตบอลโลก ปี 2014

Main Article Content

ภาวิตา ค้าขาย

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ (1) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนท์ จำกัด (บริษัทอาร์เอส) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2014 และ (2) ประเมินผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นกับทั้ง 2 องค์กร โดยใช้การวิจัย แบบกรณีศึกษาเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นเอกสารระดับปฐมภูมิ และเอกสารทุติยภูมิ เครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ตารางการบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาจำแนกได้ดังนี้ (1) บริษัทอาร์เอสได้รับสิทธิมาจากฟีฟ่าซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นบริษัทจึงมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ ส่วน กสทช. มีอำนาจและหน้าที่เป็นไปตามกฎหมายใน 2 ลำดับศักดิ์ โดย กสทช. ได้อาศัยกฎหมายลำดับรอง ได้แก่ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 (Must Carry) และประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 (Must Have) แจ้งให้บริษัทถ่ายทอดสดรายการฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2014 ทางบริการโทรทัศน์ ที่เป็นการทั่วไป (Free TV) จำนวนทั้งสิ้น 64 นัด เหตุผลหลักเป็นไปเพื่อให้ประชาชนที่เป็นผู้ด้อยโอกาสสามารถ เข้าถึงสื่อได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จากประกาศนี้ทำให้บริษัทอาร์เอสถูกจำกัดสิทธิในการถ่ายทอดกีฬาและเสียสิทธิทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากไม่สามารถบริหารลิขสิทธิ์ได้ตามแผน และ (2) ผลการประเมินผลกระทบของปัญหา ที่เกิด (2.1) บริษัทอาร์เอสได้ประเมินค่าเสียหายของตนเองทั้งสิ้น 719 ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถบริหารลิขสิทธิ์ได้ตามแผน และ (2.2) ผลกระทบต่อ กสทช. ได้แก่ (ก) ผลการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด ปรากฏว่า ประกาศ Must Have นั้นเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ (ข) กสทช. ได้นำเงินจากกองทุนมาจ่ายชดเชยจำนวน 427 ล้านบาท ถือว่าเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ และก่อให้เกิดการตอบโต้จากบริษัทอาร์เอสและองค์กรอื่นๆ ที่สนใจหลักธรรมาภิบาลของ กสทช.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ASTV Manageronline. (2014). “RS” said 427 Millions not worthy Disagreed to Must Have Rule. Retrieved October 30, 2014, from https://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000066585 [in Thai]

Fiscal Policy Offce. (n.d.). Good Governance. Retrieved April 20, 2015, from https://www.fpo.go.th/FPO/c_fpo/item6/c6_2.htm [in Thai]

Jumpa, M. (2011). Administrative Law in Context Volume 3 on Act on Administration and Act of Administration Control EP.1 (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Matichonweekly. (2017). Imagination Reality: The ‘Must Have’ Copyright of World Cup 2018 under Section 44. Retrieved December 25, 2017, from https://www.matichonweekly.com/column/article_67149 [in Thai]

Neawna. (2013). NBTC persisted to broadcast 64 Matches of Final World Cup on Free TV. Retrieved March 15, 2015, from https://www.naewna.com/sport/95500 [in Thai]

Nerut, C. (n.d.). Administrative Discretion. Retrieved May 19, 2015, from www.law.moi.go.th/2551/article007.doc [in Thai]

Ombusman Western Australia. (2009). Guidelines: Exercise of discretion in administrative decisionmaking. Retrieved May 21, 2014, from https://www.ombudsman.wa.gov.au/Publications/Documents/guidelines/Exercise-of-discretion-in-admin-decision-making.pdf

Prachachartoonline. (2016). NBTC. Relieved! Administrative Court “Dismissed” World Cup Compensation for RS. Retrieved October 31, 2016, from https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475143260 [in Thai]

Project on Tracking of Communication and Telecommunication Policy. (2014). NBTC Policy Watch Project’s Commentary on BTFP Fund Usage for Final World Cup. Retrieved July 13, 2014, from https://nbtcpolicywatch.org/press_detail.php?i=1227&t=1 [in Thai]

Ravitej Rao, M. (n.d.). Control of Abuse of Administrative Discretion: Judicial Trends. Retrieved July 20, 2014, from https://www.manupatra.co.in/newsline/articles/Upload/2F200227-E95A-408DB1EA-77CFE9702C36.pdf

Saweangsak, C. (2003). Administrative Law in Context (7th ed.). Bangkok: Winyochon. [in Thai]

Simaporn, S. (2013). RS estimated 700 M. for broadcast Final World Cup 2014. Retrieved July 7, 2015, from https://www.ryt9.com/s/iq05/1690266 [in Thai]

Smith, P., Evens, T. & Iosifdis, P. (2015). The Regulation of Television Sports Broadcasting: A Comparative Analysis. Retrieved December 25, 2016, from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.828.917&rep=rep1&type=pdf

Thai National News. (2014). NBTC agreed to compensate RS for 472 M. Retrieved July 15, 2015, from https://www.mcot.net/site/content?id=53996509be0470a1078b4572#.Vcag7PmqpBc [in Thai]

Thairath Online. (2014). 18 thousands for WorldCup Box return. Retrieved June 20, 2015, from https://www.thairath.co.th/content/433012 [in Thai]

Thairath Online. (2018). “Pravit” confrmed World Cup Broadcasting by 7 companies joining the deal. Retrieved February 13, 2018, from https://www.thairath.co.th/content/1202840 [in Thai]