A Development of Family Health Assessment Tool Focus on Cultural Dimension: A Tool for Postpartum Mothers and Newborns’ Muslim

มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด

Authors

  • สกุณา บุญนรากร Faculty of Nursing, Princess of Naradhiwas University
  • กรรณภา ไชยประสิทธิ์

Keywords:

แบบประเมินสุขภาพ, สุขภาพครอบครัว, มารดาหลังคลอด, ทารกแรกเกิด, มุสลิม

Abstract

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แบบประเมินสุขภาพครอบครัวที่เน้นมิติทางวัฒนธรรมสำหรับมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด โดยใช้กรอบแนวคิดขั้นตอนในการพัฒนาเครื่องมือ 8 ขั้นตอนของเดอเวลลิส(DeVellis) และพัฒนาข้อคำถามด้านครอบครัวจากทฤษฎีการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของไลนิงเกอร์และเมคฟาร์แลนด์ แนวคิดการประเมินสุขภาพครอบครัวของเดนเฮม และทฤษฎีพัฒนาการครอบครัวของดูวาลล์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงโครงสร้างและความตรงเชิงเนื้อหาโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และประเมินผลโดยการสนทนากลุ่มผู้ใช้เครื่องมือ
     ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของครอบครัว และสิ่งแวดล้อม
จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ ข้อมูลของครอบครัว ลักษณะที่อยู่อาศัย แผนที่ตั้งของบ้าน ผังเครือญาติ และข้อมูลสมาชิกครอบครัว ส่วนที่ 2
ข้อมูลสุขภาพครอบครัว ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1.ด้านร่างกาย มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1.1 สุขภาพมารดาหลังคลอด-ทารกแรกเกิด
1.2 พฤติกรรมสุขภาพ 1.3 การดูแลสุขภาพตามบริบททางวัฒนธรรมของหญิงหลังคลอด-ทารกแรกเกิด 1.4 การดูแลความเจ็บป่วย
ในภาวะเฉียบพลัน ภาวะเรื้อรัง และการฟื้นฟูสภาพ 2. ด้านจิตใจ มี 5 ประเด็น ได้แก่ 2.1 การปรับตัวเข้าสู่บทบาทบิดามารดา
2.2 ความเครียดและการจัดการ 2.3 ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด 2.4 กิจกรรมผ่อนคลายความเครียด 2.5 ความเชื่อ - ค่านิยมด้าน
สุขภาพ 3. ด้านสังคม มี 5 ประเด็น ได้แก่ 3.1 การจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิก 3.2 สัมพันธภาพระหว่างบิดา
มารดาบุตร 3.3 สัมพันธภาพในครอบครัว 3.4 สัมพันธภาพกับเพื่อนบ้าน 3.5 ความปลอดภัยในสังคม และ 4. ด้านจิตวิญญาณ
มี 3 ประเด็น ได้แก่ 4.1 ความเชื่อและศรัทธาทางศาสนา 4.2 ปรัชญาและเป้าหมายชีวิต 4.3 การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา การ
ประเมินผลจากการใช้แบบประเมิน พบว่า บรรลุวัตถุประสงค์ มีความตรงตามสภาพ เหมาะสม มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้
ผู้ใช้พึงพอใจแบบประเมินในระดับมาก ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาแบบประเมินจนเข้าใจก่อนการนำไปใช้ และระมัดระวังในการ
แปลคำศัพท์ทางการแพทย์เป็นภาษามลายูถิ่น

References

Denham, S.A. (2003). Family Health: A framework for nursing. Philadelphia: F.A.Davis publishers.

DeVellis, R.F. (2017). Scale development theory and applications. USA: University of North Carolina, Chapel Hill.

Duvall, E.M. (1977). Marriage and family relationships. Philadelphia: Lippincott. Faculty of nursing, Princess of Naradhiwas university. (2016). Bachelor of nursing science revised edition 2016. Narathiwat: Faculty of nursing, Princess of Naradhiwas university. (in Thai)

Jongudomkarn, D., Wacharasin, J., Deoisares, W., Phuphaibul, R. & Surakarn, P. (2015). Family and caring
for the ill members: suggestions based on a documentary research. Journal of Nursing Science & Health, 38(4), 100-113.

Kaewprom, W. (2009). Developing a family health needs and problems assessment: a case study at Wangsapung
care unit, Wangsapung distric, Loei province. A thesis for the degree of master of nursing, Khon Kaen University. (in Thai)

Leininger, M. & McFarland M.R. (2002). Transcultural nursing: concepts, theories, research, and practice. (3rd ed.) New York: McGraw-Hill.
Narathiwat provincial statistical office. (2017). Narathiwat provincial statistical report: 2017. Bangkok: National statistical office, Ministry of digital economy and society. (in Thai)

Siriphan, S. & Elter, P.T. (2016). The importance of cross-cultural knowledge and abilities in nursing care for
mothers and newborns. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 220-232.

Thanakroekkiat, P., Kanjanawetang, J. & Neamskul, W. (2011). A study of family health of families living in
Uttaradit province. Journal of Nursing and Health Sciences, 5(2), 92-105.

Wacharasin, C., Deoisres, W. & Sawatphanit, W. (2016). Impact of a behavioural consultation programme development. The Journal of Nursing Council, 31(2), 17-27.

Additional Files

Published

2018-09-12

How to Cite

บุญนรากร ส., & ไชยประสิทธิ์ ก. (2018). A Development of Family Health Assessment Tool Focus on Cultural Dimension: A Tool for Postpartum Mothers and Newborns’ Muslim: มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด. Princess of Naradhiwas University Journal, 10(3), 12–26. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/122508

Issue

Section

บทความวิจัย