ผลของระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมกระดังงา

Authors

  • ทวี บุญภิรมย์

Abstract

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะปลูกต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวหอมกระดังงาในแปลงเกษตรกรบ้านโคกอิฐโคกใน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 4 ซ้ำ และ 4 สิ่งทดลองคือ 20 X 20, 25 X 25, 30 X 30 และ 35 X 35 เซนติเมตร ตามลำดับ แต่ละหน่วยทดลองมีขนาด 3 X 5 ตารางเมตร ใช้ต้นกล้าอายุ 30 วัน ปักดำจำนวน 3 ต้นต่อกอ เมื่อต้นข้าวอายุ 15 วันหลังปักดำ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อข้าวเริ่มสร้างรวงอ่อนใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยแต่งหน้า เมื่อข้าวสุกแก่ 2/3 จากปลายรวงหรือเข้าสู่ระยะพลับพลึงจึงเก็บเกี่ยวข้าวบริเวณส่วนกลางของแปลงย่อยพื้นที่ 2 X 4 ตารางเมตร ผลการทดลองพบว่า ระยะปลูกข้าวหอมกระดังงาทำให้ความสูง จำนวนต้นต่อกอ ความยาวรวง เมล็ดต่อรวง และผลผลิตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ การใช้ระยะปลูก 30 X 30 เซนติเมตรทำให้องค์ประกอบผลผลิตดีที่สุด ส่งผลให้ข้าวหอมกระดังงามีผลผลิตมากที่สุดคือ 490 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาได้แก่การใช้ระยะปลูก 35 X 35 เซนติเมตร และ 25 X 25 เซนติเมตร ซึ่งให้ผลผลิต 470 และ 460 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ ส่วนการใช้ระยะปลูก 20 X 20 เซนติเมตรให้ผลผลิตน้อยที่สุดคือ 410 กิโลกรัมต่อไร่
คำสำคัญ : ระยะปลูก การเจริญเติบโต ผลผลิต ข้าวหอมกระดังงา

Downloads

Published

2015-09-13

How to Cite

บุญภิรมย์ ท. (2015). ผลของระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมกระดังงา. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/52679

Issue

Section

บทความวิจัย