ผลของน้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์

Authors

  • บัญชา รัตนีทู

Abstract

การศึกษาการใช้น้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวมีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักกาด เขียวกวางตุ้ง ที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งวิธีการใส่ปุ๋ยออกเป็น 3 สิ่งทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 1 แปลง คือ ใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว, ใช้น้ำสกัดชีวภาพ และใช้น้ำสกัดชีวภาพ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมี ทดลองในแปลงปลูกพืชไร้ดิน (ระบบไฮโดรโพนิกส์) ของภาควิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผักมีอายุครบ 28 วัน พบว่า ความสูงเฉลี่ยต่อต้นมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว มีความสูงเฉลี่ยสูงสุด (42.27±2.49 เซนติเมตรต่อต้น) และไม่แตกต่างกับการใช้น้ำสกัดชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี (36.99±4.99 เซนติเมตรต่อต้น) และการใช้น้ำสกัดชีวภาพเพียงอย่างเดียว มีความสูงน้อยที่สุด (26.60±6.10 เซนติเมตร/ต้น) น้ำหนักสด ของผลผลิตเฉลี่ย พบว่า ไม่มีความแตก ต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยการใช้ปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดคือ 84.43±23.65 กิโลกรัม/แปลง รองลงมา คือ การใช้น้ำสกัดชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี ให้น้ำหนักสดเฉลี่ย 68.89±30.97 กิโลกรัม/แปลง และการใช้น้ำสกัดชีวภาพมีน้ำหนักสดเฉลี่ย 32.97±21.25 กิโลกรัม/แปลง จากการวิจัย พบว่า การปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิกส์ที่ใช้น้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวสามารถลดต้นทุนการผลิตได้
คำสำคัญ: น้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัว, การเจริญเติบโต, การให้ผลผลิต, ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ระบบไฮโดรโพนิกส์

Downloads

Published

2013-05-30

How to Cite

รัตนีทู บ. (2013). ผลของน้ำสกัดชีวภาพจากมูลวัวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53760

Issue

Section

บทความวิจัย