สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และปัญหาการปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Authors

  • ทัตสัณฑ์ชัย ตรีสัตย์
  • จำนงค์ จุลเอียด

Abstract

การวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร พันธุ์อ้อย และการปลูกอ้อยของเกษตรกร และปัญหาข้อเสนอแนะในการปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรในการวิจัย 
คือ เกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภออู่ทอง จำนวน 3,572 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่า
ต่ำสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50.9 ปี จบการศึกษา ม.3 หรือ ป.6 มีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยเฉลี่ย 21.9 ปี ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธกส. มีอาชีพหลักทำไร่อ้อย อาชีพรองทำนา ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทาง
ปกครอง มีเครื่องจักรกลในการปลูกอ้อย มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 236.39 ไร่ ใช้แรงงานเฉลี่ย 24.28 คน ส่วนใหญ่ใช้ทุนตัวเอง และกู้เงิน ธกส. (2) การปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง ส่วนใหญ่ ไถดะ ชักร่องเดี่ยว ระยะห่างระหว่างร่อง 1.5 
เมตร การให้ปุ๋ยใช้แรงงานคน และใช้ปุ๋ยเคมีทั้งรองพื้นและแต่งหน้า การปลูกอ้อยใช้แรงงานคน ปลูกอ้อยโดยวางลำเดี่ยว การให้น้ำส่วนใหญ่ยังคงอาศัยน้ำฝน การกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวใช้แรงงานคน ในการตัดและขึ้นรถบรรทุกหลังการ
เก็บเกี่ยวใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน ศัตรูอ้อยที่พบส่วนใหญ่เป็นหนอนกอ (3) นิยมปลูกโดยใช้พันธุ์ LK 92-11 (4) ภัยธรรมชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้ง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาผลผลิตมากที่สุด คือ นโยบายของรัฐ ด้านต้นทุนการ
ผลิตคือ น้ำมัน การบริหารจัดการไร่ยังขาดทักษะความชำนาญในการปลูกอ้อย มีปัญหาเงินทุนไม่เพียงพอ และเกษตรกรต้องการให้รัฐบาลประกาศราคาอ้อยขั้นต้นก่อนตัดล่วงหน้า 6-7 เดือน คำสำคัญ : ปัญหาการปลูกอ้อย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Downloads

Published

2013-11-28

How to Cite

ตรีสัตย์ ท., & จุลเอียด จ. (2013). สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และปัญหาการปลูกอ้อยของเกษตรกรในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(4). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53786