การผลิตแก๊สชีวภาพจากผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการนึ่งร่วมกับมูลวัวโดยกระบวนการหมักแบบกะ

Authors

  • กิตติยา ป้อมเงิน
  • ประภา โซ๊ะสลาม
  • รัชพล พะวงศ์รัตน์

Keywords:

แก๊สชีวภาพ, การปรับสภาพโดยการนึ่ง, ผักตบชวา, มูลวัว

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพและการใช้ประโยชน์จากผักตบชวาที่ไม่ผ่านและผ่านการปรับสภาพด้วยการนึ่ง เป็นเวลา 60 นาที เพื่อผลิตแก๊สชีวภาพด้วยการหมักแบบกะ โดยควบคุมปริมาตรรวมที่ใช้หมักเท่ากับ 0.25 ลิตร

ใช้ผักตบชวาร่วมกับมูลวัวในอัตราส่วน 1:4 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 17.96:1 ที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 40 วัน ซึ่งพบว่า การปรับสภาพมีผลต่อโครงสร้างของผักตบชวา และองค์ประกอบทางเคมีของเส้นใย

โดยหลังการปรับสภาพพบว่ามี เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน คิดเป็นร้อยละ 41.61 16.27 และ 12.53 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพของผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพมีปริมาณแก๊สชีวภาพสะสมสูงสุด 175.67

มิลลิลิตร และสูงกว่าผักตบชวาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพโดยมีปริมาณแก๊สชีวภาพสะสม 57.00 มิลลิลิตร ในขณะที่การผลิตแก๊สชีวภาพจากผักตบชวาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพมีแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบอยู่ร้อยละ 30.87

และ 11.53 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการนึ่งร้อยละ 25.40 และ 2.83 ตามลำดับ ร้อยละการกำจัด (% Removal) ของปริมาณของแข็งทั้งหมด (TS) ของแข็งระเหยง่ายทั้งหมด (TVS) ของแข็งคงตัวทั้งหมด (TFS) ค่าซีโอดี

และความเป็น กรด-ด่าง เท่ากับ 40.24 45.44 27.11 63,502 และ 7.76 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพบว่าผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพจะมีประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สชีวภาพสูงกว่าผักตบชวาที่ไม่ผ่านการปรับสภาพในช่วง 15 วัน

แรกของการหมัก

Downloads

How to Cite

ป้อมเงิน ก., โซ๊ะสลาม ป., & พะวงศ์รัตน์ ร. (2016). การผลิตแก๊สชีวภาพจากผักตบชวาที่ผ่านการปรับสภาพด้วยการนึ่งร่วมกับมูลวัวโดยกระบวนการหมักแบบกะ. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 129–139. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65413

Issue

Section

บทความวิจัย