การเพิ่มปริมาณยอดกระจูดจากการเพาะเลี้ยงยอดด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบเติมอากาศ

Authors

  • สมปอง เตชะโต
  • อรุณี ยูโซะ
  • เปรมฤดี ดำยศ

Keywords:

กระจูด, การขยายพันธุ์, ไบโอรีแอคเตอร์, การจุ่มแช่, คลอรีนไดออกไซด์

Abstract

กระจูดที่พรุควนเคร็งมีเส้นในเหนียวและมีคุณภาพดีเหมาะต่อการทำเครื่องจักสาน ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมามีการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราในพื้นที่พรุควนเคร็งมากขึ้นทำให้ปริมาณกระจูดในธรรมชาติลดลงจนถึงจุดวิกฤติ ดังนั้น
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายพันธุ์กระจูดโดยการเพาะเลี้ยงปลายยอดในอาหารเหลวสูตร Murashige และ Skoog (MS) เติม 6-benzyladenine (BA) เข้มข้น 5 มก/ล ร่วมกับคลอรีนไดออกไซด์เข้มข้น 25 มก/ล เพื่อสร้างสภาวะปลอดเชื้อใน
การเพาะเลี้ยงในไบโอรีแอคเตอร์ระบบจุ่มแช่เป็นระยะเวลาต่างๆ แล้วเติมอากาศ 10 นาที จากการศึกษาพบว่า การจุ่มแช่ยอดในอาหารเหลว 4 ชั่วโมงเติมอากาศ10 นาทีให้ผลดีที่สุด อัตราการสร้างยอดรวมเฉลี่ย 18.20 ยอดต่อชิ้นส่วน และความยาว
ยอดเฉลี่ยสูงสุด 10.28 ซม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สามารถเพิ่มจำนวนยอดกระจูดได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายอาหาร ลดแรงงานในการย้ายเลี้ยง และการใช้คลอรีนไดออกไซด์ทำ
ให้อาหารเพาะเลี้ยงปลอดเชื้อ 100% ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าลดต้นทุนได้ และยังสามารถประยุกต์ใช้วิธีการนี้เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมกระจูดไม่ให้สูญพันธุ์อีกด้วย

Downloads

How to Cite

เตชะโต ส., ยูโซะ อ., & ดำยศ เ. (2017). การเพิ่มปริมาณยอดกระจูดจากการเพาะเลี้ยงยอดด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์แบบเติมอากาศ. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 83–88. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85615

Issue

Section

บทความวิจัย