การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปราสาทจันทรา

Main Article Content

ชาญสิปป์ ศิลารัตน์
นฤมล อินทิรักษ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องปราสาทจันทรา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปราสาทจันทรา 2) เพื่อประเมินคุณภาพ การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องปราสาทจันทรา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องปราสาทจันทรา 2) แบบประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปราสาทจันทรา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปราสาทจันทรา ได้การ์ตูน เรื่อง ปราสาทจันทรา ในรูปแบบแอนิเมชั่น 3 มิติ ที่มีความยาว 10 นาที โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณธรรมแลจริยธรรมในการช่วยเหลือผู้อื่นมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ 2) ผลจากการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ปราสาทจันทรา พบว่า ในภาพรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. (2548). สวัสดีแอนิเมชัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.
ฐนันทชัย ศิริวาลย์. (2552). การพัฒนาแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง การออกกำลังกายด้วยมวยไทยโบราณสกลนคร. มหาสารคาม: โปรแกรมวิชาสื่อ นฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประชา จ้ำมา. (2554). การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง ความดีเจ้าหมีน้อย. ม.ป.ท. โปรแกรมสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตโต). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2538). วิมุตติมรรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.