สภาวะสุขภาพช่องปากของกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง ในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • Viparut Worahan, D.D.S. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม
  • Chanapong Rojanaworarit, D.D.S, MPH, PhD ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

สภาวะสุขภาพช่องปาก, คนไร้ที่พึ่ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป สภาวะสุขภาพช่องปาก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีฟันใช้งานไม่เพียงพอของกลุ่มคนไร้ที่พึ่ง ในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

            วิธีการศึกษา:  รวบรวมข้อมูลจากการให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากในคนไร้ที่พึ่งชาย ในปี 2561 ที่มีการบันทึกตามระบบบริการปกติของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลธัญบุรี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, Wilcoxon rank-sum test, exact probability test และ univariable and multivariable logistic regression

            ผลการศึกษา:  คนไร้ที่พึ่งเป็นเพศชาย 468 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อายุ 20-59 ปี ร้อยละ 71.5 สถานภาพโสด ร้อยละ 92.7 เป็นคนเร่ร่อนมากถึงร้อยละ 81.5 และเป็นผู้พิการเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.1 โดยมีความพิการทางจิตมากที่สุด ร้อยละ 65.4 ความพิการทางกาย ร้อยละ 35.5 และความพิการทางสติปัญญา ร้อยละ 5.3 ปัญหาสุขภาพช่องปาก พบมีฟันในช่องปากน้อยกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 52.1 มีค่าเฉลี่ยอัตราฟันผุ ฟันถอน และฟันอุด เป็น 2.7, 12.8 และ 0.1 ซี่ต่อคน ตามลำดับ มีเหงือกอักเสบ ร้อยละ 97.3 พบปัจจัยการมีอายุมากกว่า 60 ปี และการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความสัมพันธ์กับการมีฟันใช้งานไม่เพียงพอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            สรุป:  คนไร้ที่พึ่งชายในการศึกษานี้มีสภาวะสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับต่ำกว่าประชากรไทยทั่วไปมาก จำเป็นต้องรับบริการทันตกรรมทั้งด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้การส่งเสริมให้สภาวะสุขภาพช่องปากของกลุ่มคนไร้ที่พึ่งดีขึ้น โดยการแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงบริการทันตกรรมจึงควรให้ความสำคัญ เพื่อให้กลุ่มคนด้อยโอกาสเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

1. มงคล ยะภักดี. เรื่องของสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง : วงจรชีวิตคนไร้ที่พึ่ง (1) [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www. gotoknow.org/posts/84056

2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต. รายงานสถิติผู้รับบริการของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 11 แห่ง ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2559.

3. พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557, ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 131 ตอนที่ 83 ก (ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2557).

4. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. คนไร้ที่พึ่ง [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก URL: http://61.19.50.68/dsdw/page.php?module=service&pg=index

5. Lou Y, McGrath C. Oral health status of homeless people in Hong Kong. Spec Care Dentist 2006;26:150-4.

6. Waplington J, Morris J, Bradnock G. The dental needs demands and attitudes of a group of homeless people with mental health problems. Community Dent Health 2000;17:134-7.

7. Yim LC, Leung HC, Chan WC, et al. Prevalence of mental illness among homeless people in Hong Kong. PLoS One 2015;10:e0140940.

8. Gibson G, Rosenheck R, Tullner JB, et al. A national survey of the oral health status of homeless veterans. J Public Health Dent 2003;63:30-7.

9. Figueiredo RL, Hwang SW, Quinonez C. Dental health of homeless adults in Toronto, Canada. J Public Health Dent 2013;73:74-8.

10. Allukian M Jr. Oral health: and essential service for the homeless. J Public Health Dent 1995;55:8-9.

11. พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551, ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 125 ตอนที่ 36 ก. (ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551).

12. Collins J, Freeman R. Homeless in North and West Belfast: an oral health needs assessment. Br Dent J 2007;202:E31.

13. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักทันตสาธารณสุข; 2556.

14. Jago JD, Sternberg GS, Westerman B. Oral health status of homeless men in Brisbane. Aust Dent J 1984;29:184-8.

15. Kaste LM, Bolden AJ. Dental caries in homeless adults in Boston. J Public Health Dent 1995;55:34-6.

16. Blackmore T, Williams SA, Prendergast MJ, et al. The dental health of single male hostel dwellers in Leeds. Community Dent Health 1995;12:104-9.

17. Pizem P, Massicotte P, Vincent JR, et al. The state of oral and dental health of the homeless and vagrant population of Montreal. J Can Dent Assoc 1994;60:1061-5.

18. De Palma P, Frithiof L, Persson L, et al. Oral health of homeless adults in Stockholm, Sweden. Acta Odontol Scand 2005;63:50-5.

19. Arnaiz A, Zumarraga M, Diez-Altuna I, et al. Oral health and symptoms of schizophrenia. Psychiatry Res 2011;188:24-8.

20. Song IS, Han K, Ryu JJ, et al. Association between underweight and tooth loss among Korean adults. Sci Rep 2017;7:41524.

21. นิธิมา เสริมสุธีอนุวัฒน์, เมธินี คุปพิทยานันท์. สร้างเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ. ใน: เมธินี คุปพิท ยานันท์, สุพรรณี ศรีวิริยกุล, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพที่ดี ในทุกช่วงวัยของชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. หน้า 73-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-24