เปรียบเทียบลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจของชาวนาผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ ของไทย

Authors

  • ปิยะวิทย์ ทิพรส นักศึกษา หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • พาชิตชนัต ศิริพานิช อาจารย์ ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

organic rice, organic rice farmer, organic rice output, socio-economic characteristics

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสังคม-เศรษฐกิจของชาวนาผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ประชากรของการสำรวจในครั้งนี้ คือ ชาวนาผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองโดยกองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากการค้นคว้าข้อมูล พบว่า มีชาวนาที่ได้รับการรับรองดังกล่าวและขอต่ออายุการรับรองในปีการผลิต 2558 จำนวนทั้งหมด 1,210 คน ใช้แผนการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น กำหนดตัวอย่างขนาด 250 คน ด้วยค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าเฉลี่ยประชากรด้วยค่าเฉลี่ยตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งได้จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างของ Cochran (1976) และจัดสรรขนาดตัวอย่างออกไปในแต่ละภูมิภาค (ชั้นภูมิ) แบบเป็นสัดส่วนกับขนาดประชากรใน แต่ละชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยแบบจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) ด้วยสถิติ F-test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติ Scheffe

จากผลการศึกษา ได้ข้อค้นพบว่า ชาวนาภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีลักษณะสังคม-เศรษฐกิจที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ การมีน้ำในระบบชลประทาน  ในขณะที่ อายุของชาวนา  ประสบการณ์ปลูกข้าวอินทรีย์ การเช่าพื้นที่ปลูก การมีพื้นที่ปลูกเป็นของตนเอง รายได้รวมทั้งในและนอกภาคเกษตรอินทรีย์ ต้นทุนผลิต และต้นทุนทั้งหมดที่เป็นเงินสดของชาวนาตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้จะไม่ต่างกัน แต่จะต่างจากชาวนาภาคเหนืออย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้ ยังพบว่า ขนาดพื้นที่ปลูกและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของชาวนาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ต่างกัน แต่จะต่างจากชาวนาภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญ

 

This survey research aims to compare organic rice farmers’ socio-economic characteristics in various regions of Thailand. This survey’s populations are organic rice farmers who are certified by Division of Rice Product Inspection and Certification, Rice Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives. From primary research, there were 1,210 farmers who are certified or requesting for certification renewal in production year of 2015. From multi-stage stratified random sampling plan, sample size was 250 with error from estimation population mean from sample mean at significant level of 0.05. This was obtained from Cochran (1976) 

statistical sample size formula. Sample size was distributed in each region by proportional-to-size allocation. Statistics that used in data analysis were one way analysis of variance (ANOVA) was done by F-test and multiple comparison was done by Scheffe’s method.

From the study, the significant different of socio-economic characteristic between Northern, Northeastern and Southern farmers was irrigation. Farmer age, experience in organic rice farming, rice field renting, rice field ownership, total revenue in both organic agriculture and non-organic agriculture, production cost, and total cash cost of were not different in farmer in Northeastern and Southern regions but significantly different from farmers in Northern region. Moreover, rice field size and output per rai content of farmers in Northern and Northeastern region were not different, but significantly different from farmers in Southern region.

References

กัญญาวีร์ เปลี่ยนพิจิตร. (2554). การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของชาวนา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. มสธ. การเสนอผลการวิจัยทางการเกษตรและที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคม.1-15.doi: qmis.stou.ac.th/qa/ EQA_3/KPI_EQA/ KPI_3/12_Agiculture/.../41_Kanyawee.pdf
กัณฑ์ณรงค์ มุยคำ. (2550). ต้นทุน ผลตอบแทน และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกข้าวอินทรีย์ของสมาชิกและไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรไร้สารเคมี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
กรมการข้าว . (2559). ข้อมูลภาคตัดขวางทะเบียนการรับรองการผลิตข้าอินทรีย์ ปีการผลิต 2558 จากกองตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าว.สืบค้น 30 มิถุนายน 2558, จาก http://dric.ricethailand.go.th/index.php /registration-is-organic-rice.pdf.
กระทรวงพาณิชย์. (2558). แนวทางการส่งเสริมการตลาดข้าวอินทรีย์: โอกาส ความท้าทายของกระทรวงพาณิชย์. สืบค้น 20 มกราคม 2559, จาก http://www.km.moc.go.th.
กระทรวงพาณิชย์. (2558). การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ครัวโลก. สืบค้น 20 มกราคม 2559, จาก http://www.km. moc.go.th.
กระทรวงพาณิชย์. (2561). ปลัดพาณิชย์เผยผลวิจัยคนไทยเริ่มไม่กินข้าวเฉลี่ยแค่ปีละ 106 กิโลกรัม. สืบค้น 24 เมษายน 2559, จากhttps://www.matichon.co.th/news.pdf.
คณะกรรมการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (ม.ป.ป). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. สืบค้น 22 มกราคม 2559, จาก www.greennet.or.th/sites /default/files/1704%20OA%20strategy.pdf.
คณะกรรมการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (ม.ป.ป).ความแตกต่างของปฏิวัติเขียวและเกษตรอินทรีย์. สืบค้น 22 มกราคม 2559, จากwww.greennet.or.th/sites/default/files /1704%20OA%20strategy.pdf.
ชาลิสา สุวรรณกิจ และ กนกเนตร เปรมปรี. (2559). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนระหว่างการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมี [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2) , 519-529.
พระพัฒนพิสุทธิ์ อินทวีโร (วงเวียน) (2556). การทำนาข้าวอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปรัญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม) อยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธวัชชัย โตสิตระกูล. (2558). ข้อเท็จจริงของการรับรอง PGS สรุปผลการสัมมนาวิชาการ organic symposium 2015. สืบค้น 19 ธันวาคม 2560, จาก http://www.Organicnatural expo.com/download/symphosium_summarize.pdf.
วริฐา หลักคำ. (2560). เศรษฐกิจบนฐานความรู้ในตลาดชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(42), 102-110.
รณชัย ช่างศรี. (ม.ป.ป.). ความยั่งยืนของข้าวอินทรีย์สุรินทร์ : บนเส้นทางมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเษตรกร. สืบค้น 24 เมษายน 2560, จาก http://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155757.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์, สุภาวดี ขุนทองจันทร์, สุขวิทย์ โสภาพล และสุมาลี เงยวิจิตร. (2556). การศึกษาบริบทของชุมชนในการคำนวณต้นทุนการผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1) , 106-125.
สุรชัย กังวล. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวอินทรีย์และการวิเคราะห์เส้นทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารปาริชาต ฉบับพิเศษ, 200-207.
สุวรรณี อินทองแก้ว, สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย และสุธัญญา ทองรักษ์. (2559). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์และข้าวสังข์หยดทั่วไปของชาวนาในจังหวัดพัทลุง[ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร เศรษฐศาสตร์การอาหารและธุรกิจการเกษตร ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559, 44-56.
อรกช เก็จพิรุฬห์. (2556). การเปรียบเทียบโครงสร้างต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์กรณีศึกษา ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร, วารสารแก่นเกษตร, 41 (2), 171-180.
อัมรา เวียงวีระ, ชนิภา เขียวณรงค์, อรนุช รัตนเลิศสกุล, ลัดดาวัลย์ กรรณนุช, สำราญ สรุโน และสาริณีย์ จันทรัศมี. (2555). การศึกษาประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการผลิตข้าวอินทรีย์ กรมการข้าวและสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว และ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. สืบค้น 25 มกราคม 2559, จาก http://anchan.lib.ku. ac.th/agnet/bitstream /001/3108/1/ brrd54001025c.pdf.
Wilson, A. (2558). โอกาสสู่การเป็นที่หนึ่งของเกษตรอินทรีย์ไทยในอาเซียน. สืบค้น 19 มกราคม 2560. จาก http://www.organicnaturalexpo. com/download/symphosium_summarize.pdf.
Leu, A. (2558). เกษตรอินทรีย์กับอนาคตของอาเซียน. สืบค้น 19 มกราคม 2559. จาก http://www.organicnaturalexpo.com/dwnload/symphosium_summarize.pdf.
Cochran, W. G. (1976). Sampling Techniques. (2nd). New York : John Wiley and Sons.

Downloads

Published

2018-11-05