ศักยภาพและการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเลย เพื่อรองรับความเป็นประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC)

Authors

  • สังคม พรหมศิริ อาจารย์ ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วทัญญู แสนใจวุฒิ พัฒนาการจังหวัดเลย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย
  • สุณีย์ กวิศราศัย นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย  ในการรองรับความเป็นประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนของไทยและเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในด้านศักยภาพและการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลยในการรองรับความเป็นประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนของไทย  กลุ่มเป้าหมายคือ  เทศบาลตำบลเชียงคาน  เทศบาลตำบลเขาแก้ว  และเทศบาลตำบลธาตุ  อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย  ประชากรที่ศึกษา  ได้แก่  ผู้บริหาร  สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้นำและสมาชิกกลุ่มต่างๆ ปราชญ์  ผู้รู้ในชุมชน  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีการวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบเจาะลึกโดยใช้แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  การสนทนากลุ่ม  และการสังเกตผลการวิจัย พบว่า แต่ละเทศบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมในท้องถิ่นไว้ทุกเทศบาล มีศักยภาพในด้านคน  เงิน  และวัสดุอุปกรณ์เพียงพอที่จะรองรับความเป็นประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนเป็นอย่างดี ด้านการพัฒนาศักยภาพ พบว่า  เทศบาล  ทุกแห่งได้ให้ความสำคัญในเรื่องการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอย่างมากโดยเน้นในเรื่องภาษาต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนและภาษาอังกฤษในโรงเรียน ทั้งมีการปรับตัวโดยทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และในนามหน่วยงานด้วยการจัดกิจกรรมเชิงสถาบันเพื่อขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน  การจัดตั้งคณะทำงานรวมถึงการส่งบุคคลากรเข้าร่วมประชุมในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ ด้านส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนแก่ประชาชน เทศบาลทุกแห่งจะเน้นเพียงป้ายประชาสัมพันธ์คำทักทายของประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียนและธงชาติ  ด้านการเตรียมความพร้อมพบว่าแต่ละเทศบาลมีการตั้งงบประมาณในโครงการที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและประเพณีด้วยการสอดแทรกความรู้ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านเข้าไปในแต่ละโครงการด้วย  แต่ทุกเทศบาลยังไม่ได้มีการตั้งงบประมาณที่เป็นโครงการรองรับความเป็นประชาสังคมวัฒนธรรมอาเซียนที่ชัดเจนแต่อย่างใด ด้านปัญหาอุปสรรค  พบว่า เทศบาลทุกแห่งมีปัญหาอุปสรรคที่ตรงกัน  คือ  การขาดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และยังไม่ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องความรู้ความเข้าใจในด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อต่างๆ ทั้งขาดการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนจาก  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

This research aims to study the potential and adaptability of local government in Loei province that was support the ASEAN socio-cultural community (ASCC) of Thailand and note issue Barriers in capacity and adaptability of the local government in the province. Target groups were collected Chiang Khan District Khaokaew District And Chiang Khan Municipality in Loei. The sample populations were collected administrators or members of local administration Leaders and members of various groups philosopher or user community. This research was qualitative research that studied document specifically research questionnaires or interviews focus groups and observation.

The results showed that each municipality had established strategic corporate vision to drive activities to support the local culture in all municipalities. The potential in people, money and materials. Sufficient to support the ASCC as well. Development potential that every municipality had focused on the integration of ASEAN was very much focusing on the ASEAN foreign language and English in school. Both had been adapted by the symbolic and activities on behalf of institutional entities with activities to drive the formation of the ASEAN Community. The taskforce Including sending staff to attend regional and national level. The promotion of public awareness about ASEAN. Every municipality to focus only label releases greetings countries of ASEAN and the flag. The preparation that each municipality had budgeted in projects related to the arts, culture, customs and traditions to insert of cognitive and socio-economic culture of the neighboring country but all municipalities had not  budget for support project by the civil society ASEAN. The problems that municipalities all had been showed English language for communication and preparedness knowledge in the arts, culture, traditions, beliefs and lack of support for the economic, social, cultural exchanges of ASEAN neighbors from the Department of Local Administration.

Downloads

Published

2018-05-31