การพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการท่องเที่ยวแบบเที่ยวซ้ำ ในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดนครปฐมและพื้นที่เชื่อมโยง

Authors

  • พิมพ์ชนก มูลมิตร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • นิพล เชื้อเมืองพาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • วงศ์ระวิทย์ น้อมนำทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ถิรนันท์ ประทุม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • นิลุบล คงเปรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • อารีรัตน์ ฟักเย็น อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Keywords:

อุปสงค์ทางการท่องเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวซ้ำ, tourism demand, tourist behavior, revisit tourism

Abstract

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอุปสงค์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาความต้องการการท่องเที่ยวแบบเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อหารูปแบบการท่องเที่ยวในการพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวซ้ำในจังหวัดนครปฐมและพื้นที่เชื่อมโยง โดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาจากพฤติกรรมและอุปสงค์ของนักท่องเที่ยว จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาอุปสงค์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด และมีอายุระหว่าง 35 – 44 ปี อาศัยอยู่กรุงเทพมหานคร และประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศประมาณปีละไม่เกิน 5 ครั้ง และมักเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันปิดภาคเรียน ทั้งนี้เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3 เพื่อมาไหว้พระ โดยตัดสินใจมาท่องเที่ยวจากแหล่งข้อมูลที่มาจากเพื่อน/ญาติ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวมีความคาดหวังในเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว โดยมีสิ่งจูงใจทางการท่องเที่ยว คือ ความสะดวกทางในการเดินทาง ทำให้นักท่องเที่ยวจัดการเดินทางด้วยตนเองด้วยรถยนต์ส่วนตัว และนิยมซื้อของฝากประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ในส่วนความต้องการการท่องเที่ยวแบบเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมที่ประกอบด้วยประเด็น  ด้านปัจจัยการท่องเที่ยว ความคิดเห็นเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในจังหวัดปฐม และความต้องการด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดปฐม พบว่า การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้เป็นไปตามที่นักท่องเที่ยวคาดหวังในระดับมาก และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 2,001 – 3,000 บาท สำหรับระดับความความต้องการในการเดินทางการท่องเที่ยวมีความต้องการท่องเที่ยวในระดับมาก เมื่อพิจารณาในด้านต่างๆ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านคุณภาพการบริการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้จากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวพบว่าการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับจังหวัดนครปฐมมากที่สุด คือ การท่องเที่ยวแบบพักผ่อนมากที่สุด รองลงมาท่องเที่ยวแบบการเกษตร และท่องเที่ยวแบบศาสนาและจิตวิญญาณ โดยนักท่องเที่ยวทำกิจกรรมการท่องเที่ยวไหว้พระ/ทำบุญ มากที่สุด รองลงมา คือ ศึกษาประวัติศาสตร์ และศึกษาวิถีชีวิตท้องถิ่น และมีรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวซ้ำได้ 3 รูปแบบดังนี้ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในชุมชนท้องถิ่น 2) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร  3) รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ทั้งนี้จากข้อวิจัยและข้อค้นพบนำไปสู่การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวนำร่องด้านการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและสามารถนำความสนใจแก่นักท่องเที่ยวได้อย่างดี

 

Abstract

                 The purposes of this research were to: 1) study tourism demand of tourists in Nakhon Pathom Province; 2) study the revisit demand in tourist attractions and 3) find out tourism patterns for the development of revisit tourism destinations in Nakhon Pathom province and its linkage areas. By using questionnaire for studying tourists’ behavior and demand. The data then was analyzed by percentage, mean and standard deviation.

                The results found that: 1) the samples were more female with the status of single and age between 35-44 years old living in Bangkok. They were government employees; monthly income was 5,001 - 10,000 Baht. Moreover, most tourists traveled within the country approximately 5 times a year and often traveled during the school - off. They traveled to Nakhon Pathom for the second or third time to pay respect to Buddha images and they decided to travel this time from friends / relatives. In addition, they  expected in tourism attractions with the easiest access to travel, with be managed trip by themselves, travelled by private car, and bought food souvenirs. Furthermore, the demand for revisit tourism in Nakhon Pathom has been rising according to the tourism factor, tourist opinion and demand tourism in the province. The average expenditure was 2,001 - 3,000 Baht. In terms of tourism demand, was at a very high level. Considering the various aspects, it was found that tourists had the highest demand for quality of services, tourist activities was a higher level on their consideration in restaurants and beverages. Moreover, from the tourists' opinions, it found that the most suitable tourism pattern for Nakhon Pathom was leisure tourism, followed by agrotourism, and spiritual tourism. Most tourists traveled to merit making, followed by the history and local life learning. Finally, the research found that the 3 patterns for revisit tourism that composed; 1) leisure tourism in local community, 2) agrotourism and 3) spiritual tourism. The recommendation from the finding mentions that the spiritual tourism, such as superstition tourism is an interesting one of the pattern among the visitor visiting Nakhon Patom province.

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2555 – 2559. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก https://www.tourism.go. th/home/details/11/221/25306
กรมการท่องเที่ยว. (2554). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2555 – 2559. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php? nid=7100
กรมการท่องเที่ยว. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยปี 2558 – 2560. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid =7114
กรมการท่องเที่ยว. (2559). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2558. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก https://www.tourism.go.th/home/ details/11/221/25306
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานประจำปี แนวโน้มและทิศทางการท่องเที่ยวไทย. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2559, จาก https://thai.Tourism thailand.org
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). การศึกษาแนวโน้มและทิศทางการท่องเที่ยวไทยในปี 2563. กรุงเทพฯ: กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร. สืบค้น 21 มกราคม 2559, จาก https://thai.tourismthailand.org/ home,2558
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลดา แสนคำเรือง และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยว: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวในจังหวัดเลย. การเงิน การลงทุน และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 223 – 242.
ณัฐกานต์ โรจนุตมะ. (2542). ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์การท่องเที่ยวภายในประเทศของชาวกรุงเทพ มหานคร. (วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐานเศรษฐกิจดอทคอม. (2559). ท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่ โกยรายได้ทะลุเป้า 2.23 ล้านล้าน. สืบค้น 29 มกราคม 2559, จาก https:// www.thansettakij.com/2016/01/08/25115
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). “มูลค่า” สู่ “คุณค่า” จาก “พ่อค้า” สู่ “ญาติมิตร” ฝ่าวิกฤตการท่องเที่ยวไทย. ประชาคมวิจัย. (ฉบับที่ 85), 4-7.
ธนธรณ์ ทองหอม. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว.
นิพล เชื้อเมืองพาน. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญเลิศ ตั้งจิตวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2560, จาก https://tci-thaijo.org/index.php/ sujthai/article/view/15130
วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยศึกษากรณีตลาดน้ำอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2548). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2559). บริการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์. สืบค้น 29 มิถุนายน 2560, จาก https://www.ismed.or.th
สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2557). ยุทธศาสตร์จังหวัดนครปฐม. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2560, จาก www.nakhonpathom.go.th/news_develop_plan
Davies, B. and Mangan, J. (1992). Family Expenditure on Hotels and Holidays. Annals of Tourism Research, 19, 691- 699.
Kotler, Bowen & Makens, (1999). Marketing for hospitality and tourism. Upper Saddle River, N.J. : Prentice Hall, c1999.

Downloads

Published

2019-02-14