รูปแบบการจัดการความรู้ตามบทบาทหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตตรวจราชการที่ 10 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

Authors

  • วิโรจน์ อุทุมโภค นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ประจญ กิ่งมิ่งแฮ อาจารย์ ประจำสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ธนกฤต ธุริสุทธิ์ อาจารย์ ประจำสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

รูปแบบ, การจัดการความรู้, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, model, knowledge management, sub-district headman and village headman

Abstract

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ตามบทบาท หน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตตรวจราชการที่ 10 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร จำนวน 4,804 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 356 คน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการหาข้อสรุปความสอดคล้อง (Multi - Attribute Consensus Reaching : MACR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ และวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับสภาพและปัญหาการดำเนินการจัดการความรู้ตามบทบาทหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีปัญหาในการจัดการความรู้ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก รูปแบบการจัดการความรู้ตามบทบาท หน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตตรวจราชการที่ 10 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย 6 รูปแบบคือ 1) การสร้างความรู้ 2) การจำแนกความรู้ 3) การจัดเก็บความรู้ 4) การนำความรู้ไปใช้ 5) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้และ 6) การประเมินผล โดยรูปแบบการจัดการความรู้ตามบทบาทหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เขตตรวจราชการที่ 10 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้

 

          The purposes of this research was to create the model of knowledge management of sub-district headman and village headman inspection area 10 department of Ministry of Interior. The research design was mixed methods research. The population and the samples of quantitative research consisted for 4,804 and 356 peoples, analyzed and presented by using frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative research have 10 professionals to proceed by using Multi – Attribute Consensus Reaching (MACR) which analyzed by using median ,quartile range, and content analysis.

          The results showed that the level of conditions and problem of knowledge management of sub-district headman and village headman have a great problem in overview. The model of knowledge management of sub-district headman and village headman inspection area 10 department of Ministry of Interior. There are 6 model include: 1) Creating knowledge. 2) Classification of knowledge. 3) Stored knowledge. 4) Knowledge utilization. 5) Sharing knowledge and 6) Evaluation. The model of knowledge management of sub-district headman and village headman inspection area 10 department of Ministry of Interior which professionals have consistent comments that suitability and possibility.

Downloads

Published

2018-08-17