ลักษณะความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Authors

  • นุชนาถ มีสมพืชน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

Keywords:

ลักษณะองค์การแห่งการเรียนรู้, องค์การ, องค์การแห่งการเรียนรู้, the characteristics of learning organization, organization, learning organization

Abstract

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นองค์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภฏจันทรเกษม จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test และ F-test  โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

                ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาโท หน่วยงานที่สังกัดคือคณะ ตำแหน่งข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ และมีอายุงานที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 5-10 ปี โดยภาพรวมบุคลากรมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านแบบแผนความคิด ด้านการมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการเรียนรู้เป็นทีม ตามลำดับ และ 2) บุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในด้านแบบแผนความคิด และด้านการคิดเชิงระบบ แตกต่างกัน บุคลากรที่มีหน่วยงานที่สังกัดต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมและด้านการเรียนรู้เป็นทีมแตกต่างกัน บุคคลากรที่มีตำแหน่งต่างกัน มีระดับความคิดเห็นด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้เป็นทีมและด้านการคิดเชิงระบบแตกต่างกัน ตามลำดับ

 

Abstract

                 This research had the following objectives: 1) To study the characteristics of learning organization in the case of Chandhrakasem Rajabhat University; and 2) To compare the characteristics of learning organization in the case of Chandhrakasem Rajabhat University divided into basic factors of questionnaire respondants.  Sample groups were 266 Chandhrakasem Rajabhat University personnel. The tools used were questionnaires and interview guidelines.  Data analysis statistics were percentage, average, standard deviation, t-test, and F-test with a statistical significant level at .05. 

                The research results found that: 1) Most personnel were female aged between 31-40 years, with Master degrees in education, working under Faculties, in positions of Government officers/University employees in academic support units, and with a working duration in Chandhrakasem Rajabhat University of between 5-10 years. On overall, personnel had a level of opinion towards at a high level in every aspect; i.e. conceptual frameworks, commitment to excellence, systematic thinking, creation of shared visions, and team learning, in that order. 2) Personnel with different education had different levels of opinion on aspects such as conceptual frameworks and systematic thinking.  Personnel in different units had different levels of opinion to aspects such as creation of shared visions and team learning.  Personnel with different positions had different levels of opinion on aspects such as creation of shared visions, team learning, and systematic thinking.

 

References

ฉันทนา บุญชู. (2557). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของลูกจ้างโรงพยาบาล นครปฐม. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 25(1), 78-92.
นิมิตร โสชารี. (2559). รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลตำบล ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 27-41.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริวิยาสาส์น.
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร มาธิราช.
พรพรรณ เข้มแข็ง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้และผลการดำเนินงาน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). นครราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน.
ไพลิน บุญนา. (2559). ลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). จันทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Jump, N. (1978). Psychometric Theory. 2nd ed. New York, NY : McGraw Hill.
Yamane, Taro. (1970). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. New York, NY : Harper & Row.

Downloads

Published

2019-02-14