ผลของการประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อ พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสระแก้ว อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

กฤษฎา หงศาลา
สงครามชัย ลีทองดี
วงศา เล้าหศิริวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ชมรมผู้สูงอายุ เป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพ แต่ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและไม่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุคุณภาพของกรม อนามัย ความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการมีส่วน ร่วม ในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุของกลุ่มทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบผลการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง และระหว่าง กลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่ม เปรียบเทียบ 40 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินชมรมผู้สูงอายุคุณภาพทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรม โดยการประยุกต์ ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการวางแผนแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2555 ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มทดลองมีความรู้ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูง อายุ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และผลการประเมินเพื่อรับรอง มาตรฐาน ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ

คำสำคัญ : ชมรมผู้สูงอายุ, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การวางแผนแบบมีส่วนร่วม

 

ABSTRACT

The Elderly Club were important and necessary strategy to resolve health problems that occur in the elderly. Recent, the activity of elderly club didn’t continuing and didn’t pass the standard of elderly club quality of the health department. The purpose of this research was to study and compare the knowledge, participation in management, participation in health promoting activities of the elderly club and evaluation of elderly club quality between the experimental group and comparison group before and after the experiment.

It was a quasi-experimental research in which data was collected from a sample of 40 persons in an experimental group and 40 persons in a comparison group. The tools used were questionnaire and evaluation of elderly club quality form before and after the experiment, with application of empowerment and participatory planning program. The data was analyzed by descriptive statistics, Paired t-test and Independent t-test. The research was conducted from January to April 2012.

The research found that the experimental group had knowledge, participation in management and participation in health promoting activities of the elderly club higher than before the experiment and higher than the comparison group with statistical significant of (p<0.5) and the evaluation of elderly club quality higher than before the experiment and higher than the comparison group.

Keywords : Elderly Club, Empowerment, AIC

Article Details

บท
บทความวิจัย