แนวโน้มการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในพลทหารที่บริจาคโลหิตในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เสริมพงษ์ จารุเลิศวุฒิ
บุญเติม แสงดิษฐ
ดุสิต จันทยานนท์

Abstract

ความเป็นมา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในผู้บริจาคโลหิตในประเทศไทย พบความชุกในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เมื่อติดเชื้อแล้วอาจมีเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน อาจกลายเป็นผู้ติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งมีโอกาสเป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ทำให้เสียชีวิตได้ ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในผู้บริจาคโลหิตที่เชียงใหม่เคยสูงถึงร้อยละ 8.82 ในห้วงปี พ.ศ. 2535-2537 อัตราการติดเชื้อสูงสุดในผู้บริจาควัย 21-30 ปี พลทหารเป็นชายหนุ่มไทยวัย 18-23 ปีที่ได้รับคัดเลือกเป็นพลทหาร เพื่อทำงานในกองทัพนาน 2 ปี พบว่าพลทหารที่บริจาคโลหิตมีอัตราการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสูง ประเทศไทยมีโครงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่เด็กเกิดใหม่ทุกคนตั้งแต่ พ.ศ. 2535 วัตถุประสงค์ ศึกษาแนวโน้มการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในพลทหารที่บริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในปี 2554-2558 เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในหน่วยทหาร เปรียบเทียบกับการศึกษาอื่น และประเมินผลการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วิธีการ รวบรวมข้อมูลจำนวนพลทหารผู้บริจาคโลหิตที่ตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและจำนวนพลทหารทั้งหมดที่บริจาคโลหิตในในห้วง 5 ปี คำนวณหาความชุกของการติดเชื้อในแต่ละปี เปรียบเทียบกับความชุกของการติดเชื้อกับพลทหารในกรุงเทพฯ และชายไทยกลุ่มอื่นที่มีอายุใกล้เคียงกัน ผลการศึกษา มีพลทหารบริจาคโลหิตจำนวน 1,883, 1,469, 1,404, 1,364 และ 1,267 คน ใน พ.ศ. 2554-2558 ตามลำดับ ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นร้อยละ 4.09, 4.97, 3.99, 3.29, และ 1.02 ตามลำดับ ความชุกเฉลี่ยเป็นร้อยละ 3.57 ความชุกมีแนวโน้มลดลง แต่ยังสูงกว่าพลทหารที่บริจาคโลหิตในกรุงเทพฯ ในห้วงปี 2554-2557 เมื่อเทียบกับกลุ่มนักเรียนแพทย่ทหารและนักเรียนเตรียมทหาร พบว่าความชุกในนักเรียนแพทย์ทหารและนักเรียนเตรียมทหารเป็นร้อยละ 0 ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และ 2555 ตามลำดับ สรุป ความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มพลทหารที่บริจาคโลหิตที่เชียงใหม่มีแนวโน้มลดลงเป็น ร้อยละ 1 ในปี2558 แต่ 4 ปีก่อนหน้านั้นสูงกว่าพลทหารในกรุงเทพฯ ในขณะที่ความชุกในนักเรียนทหารเป็นร้อยละ 0 แล้วก่อนหน้านั้น 2-3 ปี จึงควรศึกษาความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีในเด็กที่เชียงใหม่ ปรับปรุงการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากขึ้นให้คำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ติดเชื้อ เพื่อควบคุมโรค ป้องกันการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ และได้โลหิตบริจาคที่ปลอดภัยมากขึ้น

Trends of Hepatitis B Virus Infection among Conscript Blood Donors in Chiang Mai

Background: Hepatitis B virus (HBV) infection is the most common infections disease of blood donors in Thailand with higher prevalence in men. After this infection, there may be HBV in the body of the infected person and the disease may turn to be chronic infection, liver cirrhosis, hepatocellular carcinoma and death. The prevalence of HBV infection of blood donors in Chiang Mai was high as 8.82% during 1992 and 1994. The donor aged 21-30 years had the highest prevalence. Conscripts are Thai young men aged 18-23 years who are selected to work in the military service for 2 years. There has been the program of HBV immunization for children in Thailand since 1992. Objectives: To study the trends of HBV infection among conscripts who donated blood at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital between 2011-2015, for planning of health promotion and disease control activities in military units, comparison with other studies and evaluation of HBV immunization program. Methods: The 5-years data of conscript blood donors with positive for HBV infection and the total conscript donors were collected from the hospital. Then, the prevalence of HBV infection were calculated for each year. Comparison of the prevalence with the conscript donors in Bangkok was done and also the HBV prevalence of the male medical cadets and the pre-cadet students. Results: The total conscript donors were 1,883, 1,469, 1,404, 1,364 and 1,267, therefore, the prevalence percentages were 4.09, 4.97, 3.99, 3.29 and 1.02, respectively. The prevalence tends to decrease, but they are higher than those of Bangkok conscript donors prevalence, and also higher than
HBV prevalence of the male medical cadets and the pre-cadet students which was zero since 2011 and 2012, respectively. Conclusions: The prevalence of HBV infection among conscript blood donors in Chiang Mai tends to decrease to 1%, but it still higher than the prevalence of conscript blood donors in Bangkok and the prevalence of HBV of the male medical cadets and the pre-cadet student of the same studied years. There should be the study of hepatitis B vaccine coverage among Chiang Mai children, counseling services and appropriate treatment for HBV- infected persons to control HBV infection, prevent liver cirrhosis and hepatocellular carcinoma and receive safer donated blood.

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)