Anti-Mi and Anti-E: The Most Common Clinically Significant Red Cell Alloantibodies in Patients at Phramongkutklao Hospital

Main Article Content

Songsak Srijinda
Sorratod Bosuwan
Chutsanat Nuanin
Chamaiporn Suwanasophon

Abstract

Background: Alloimmunization is an adverse effect of blood transfusion. Objective: To study the characterization and specificity of red cell antibodies in transfused patients at Phramongkutklao Hospital and to compare the data with previous reports that used column agglutination technology (CAT) as the technique for screening and investigating red cell antibodies. Methods: Study the characterization of red blood cell (RBC) alloantibodies in 1,178 immunized patients between 2005 to 2016. Result: The characterization of RBC alloantibodies consist of single alloantibody 83.19%, multiple alloantibodies 11.46%, alloantibodies plus autoantibodies 0.94%, autoantibodies 1.10% and antibody of undetermined specificity 3.31%. The most common single RBC alloantibody is anti-Mia65.16% followed by anti-E 22.26%, whereas the common multiple RBC alloantibodies are anti-E + -Mia and anti-c + -E 28.77% and 14.38%, respectively. The high frequency of anti-MIaand anti-E were similar between this study and three previous reports from Songklanagarind Hospital, Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital and Khon Kaen Hospital. Conclusion: Anti-Mia and anti-E are the most common RBC alloantibodies in Thai patients who received blood transfusions.

Anti-Miaและ Anti-E: แอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงที่มีนัยสำคัญทำงคลินิกที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรงพยำบำลพระมงกุฎเกล้า

ความเป็นมา การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดเลือดแดงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งของการให้เลือด วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะและความจำเพาะของแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและเปรียบเทียบข้อมูลกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ใช้เทคนิค column agglutination technology (CAT) ในการตรวจกรองและแยกชนิดแอนติบอดี วิธีการวิจัย ศึกษาย้อนหลังลักษณะและความจำเพาะของแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2559 ที่ถูกกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีจำนวน 1,178 รายและเปรียบเทียบข้อมูลกับรายงานก่อนหน้านี้ ผลการศึกษา ลักษณะของแอนติบอดีที่พบประกอบด้วย alloantibody ชนิดเดียวร้อยละ 83.19 alloantibody หลายชนิดร้อยละ 11.46 alloantibody ร่วมกับ autoantibody ร้อยละ 0.94 autoantibody ร้อยละ 1.10 และแอนติบอดีที่ไม่สามารถแยกความจำเพาะได้ร้อยละ 3.31 alloantibody ชนิดเดียวที่พบบ่อยที่สุดเป็น anti-Mia ร้อยละ 65.16 รองลงมาเป็น anti-E ร้อยละ 22.26 ในขณะที่ alloantibody หลายชนิดที่พบบ่อยเป็น anti-E + -Miaร้อยละ 28.77 และ anti-c + -E ร้อยละ 14.38 ตามลำดับ anti-Miaและ anti-E พบได้บ่อยมากในการศึกษานี้และจากรายงานก่อนหน้านี้จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และโรงพยาบาลขอนแก่น สรุป Anti-Mia และ anti-E เป็นแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงที่มีนัยสำคัญทางคลินิกที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับเลือด

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)