Antioxidant and Antimicrobial Activity of Bauhinia strychnifolia Craib Stem Extract Against Oral Pathogens

Main Article Content

Sawanee Kraithep
Busaba Matrakool
Sudaluck Thunyaharn
Vorraphun Yingsiwaphat
Siriporn Pojpanichapong
Sayada Danthaiwattana
Sarawut Saichanma

Abstract

Background: Bauhinia strychnifolia Craib (B. strychnifolia) is used for treatment of poisoning and various illnesses in Thai traditional medicine. To investigate antioxidant and antimicrobial activity of extracts from B. strychnifolia stem (aqueous and ethanol crude extracts) against oral pathogens Streptococcus mutans (S. mutans) and Candida albicans (C. albicans). Materials & Methods: The aqueous and ethanol crude extracts of B. strychnifolia stem were used to evaluate the antioxidant property, the content of phenolic compounds, flavonoids and alkaloids, and the antimicrobial activity. Results: The ethanol extract possessed stronger antioxidant and antimicrobial activity than the aqueous one. Extracts of B. strychnifolia at various concentration were investigated for their antioxidant potency. The lowest concentration of the extracts of 31.25 µg/mL, the DPPH radical-scavenging of the ethanol and the water extracts was 87.67 ± 1.46% and 35.60 ± 9.52%, respectively. The antimicrobial activity of the ethanol and the aqueous extracts against S. mutans DMST 18777 showed the MIC and the MBC of 0.25 mg/mL and 0.50 mg/mL, respectively. The antifungal activity of both extracts against C. albicans revealed the same levels of MIC and the MFC of 1.0 mg/mL. Conclusions: This study, B. strychnifolia was found to have antioxidant and antimicrobial activity against oral pathogens causing dental caries and oral candidiasis.

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดเถาย่านางแดงต่อเชื้อก่อโรคในช่องปาก

บทนำ ย่านางแดงเคยใช้ถอนพิษและรักษาการเจ็บป่วยที่หลากหลายในแพทย์แผนไทย เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดเถาย่านางแดงอย่างหยาบชั้นนำและเอทานอล ต้านเชื้อก่อโรคในช่องปาก สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ และแคนดิดา อัลบิแคนส์ วิธีการศึกษา นำสารสกัดเถาอย่างหยาบชั้นน้ำและเอทานอลมาศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิค ฟลาโวนอยด์ และ อัลคาลอยด์ และฤทธิ์ต้านจุลชีพ ผลการศึกษา สารสกัดชั้นเอทานอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพดีกว่าสารสกัดชั้นน้ำ สารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ความเข้มข้นหลากหลาย ความเข้มข้นต่ำที่สุดของสารสกัดคือ 31.25 µg/mL ให้ค่า DPPH radical-scavenging ของสารสกัดชั้นเอทานอลและน้ำ เท่ากับร้อยละ 87.67 ± 1.46 และ 35.60 ± 9.52 ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดชั้นเอทานอลต้านเชื้อ สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ให้ค่า MIC 0.25 mg/mL และค่า MBC 0.50 mg/mL ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดทั้งสองชั้นต่อเชื้อรา แคนดิดา อัลบิแคนส์แสดงให้เห็นระดับที่เท่ากันของค่า MIC และ MFC มากกว่า 1.0 mg/mL สรุปผล การศึกษาพบว่าย่านางแดงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของเชื้อก่อโรคในช่องปากซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฟันผุและเชื้อราในช่องปาก

Article Details

Section
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)