วิถีชีวิตพอเพียงอย่างยั่งยืนของเกษตรกรด้วยการจัดการฟื้นฟูป่าบนที่นาตามภูมิปัญญาใน เขตกึ่งแห้งแล้ง กรณีศึกษา: นายเข็ม เดชศรี บ้านโนนศิลา ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ประสิทธิ์ ประคองศรี
สุจิตรา ยศดา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ การรับรู้และเข้า ใจสภาพในการฟื้นฟูสภาพป่าในนาที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เขตกึ่งแห้งแล้งที่มีฝนตก เฉลี่ยประมาณ 900 ม.ม. ต่อ ปี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วม โดยดำเนินการศึกษาวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม 2550 – เดือนมกราคม 2551 ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรได้ดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่ามาแล้ว 15 ปี บนเนื้อที่ 18 ไร่จากเดิมเคยใช้ปลูกปอแก้วและมันสำปะหลัง แต่ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร นายเข็มจึงได้เริ่มทำการอนุรักษ์ต้นไม้ฟื้นฟูสภาพป่า รวมทั้งมีการปลูกต้นไม้เสริมในพื้นที่ป่า นอกจากนี้ยังมีการทำแนวป้องกันไฟป่า และล้อมรั้วรอบบริเวณป่า เพื่อป้องกันโค กระบือ เข้ามาเหยียบย่ำต้นไม้ในพื้นที่ป่า ทำให้ป่าฟื้นฟูดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ให้ผลผลิตตอบแทนนายเข็มและครอบครัวในด้านต่างๆ ประกอบด้วย (1) มีไม้ไว้ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (2) มีเชื้อเพลิงไว้ใช้สำหรับการหุงต้มในครัวเรือน (3) พืชสมุนไพรและผักพื้นบ้าน (4) ไข่มดแดง (5) เห็ดธรรมชาติ ที่พบเป็นจำนวนมากในพื้นที่ คือ เห็ดตะไค ที่สามารถรับประทานได้และเป็นเห็ดทางเศรษฐกิจโดยเป็นแหล่งรายได้ประจำปีของครัวเรือนสามารถสร้างรายได้ที่เป็นเงินสดปีละประมาณ 41,000 บาท นอกจากนี้ ยังส่งผลให้สมาชิกในครัวเรือนมีสุขภาพกายที่ดี เนื่องจากได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าของตนเอง อีกทั้งสมาชิกในครัวเรือนมีความอบอุ่นและปลอดภัยที่ได้อยู่ร่วมกันไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น รวมทั้งวิถีชีวิตของครัวเรือนที่ยึดมั่นอยู่ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ดำเนินชีวิตสายกลาง วิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผล สามารถยืนยงและป้องกันตนเองด้วยแนวทางการช่วยเหลือตนเอง ในการจัดหาปัจจัยจำเป็นที่ใช้บริโภคในครัวเรือนจากทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้นจะเห็นว่าจากสภาพเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนอย่างมั่นคงถาวรของนายเข็ม เดชศรี สามารถสง่เสริมและเผยแพร่เพื่อประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นที่มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกันโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปีน้อย ซึ่งเป็นการจัดการและใช้ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: วิถีชีวิตพอเพียง การจัดการฟื้นฟูป่า ภูมิปัญญา

 

Abstract

This study aimed for awareness and understanding of reforestation in semi-arid areas. The focus of the study is on properties located in areas that average about 900 mm of rain per year. Participatory qualitative research was conducted during March 2550 - January 2551. The study found that a farmer had worked for 15 years on a reforestation area of 18 rai. He had planted kenaf and cassava, but it did not produce the expected. resultse. The farmer, Mr.Klem,began to conserve trees and practice forest rehabilitation, including the planting of new trees for the forest. There was a line of defense around the site with fences to prevent cattle from trampling the trees in the forest. The restoration results of these forests were rich enough to yield returns in various fields and could be used to reciprocate all the families involved including: (1) the wood was used in residence construction, (2) the fuel was used for cooking at his home, (3) homegrown herbs and vegetables ,(4) ant eggs, (5) mushrooms naturally found in the area called Takhai mushrooms, which can be eaten, an annual household income can earned at a rate of about 41,000 baht. The conservation progarm also results in good physical health of family members because they ate the organic food available in their area. They had the warmth and security of family members who live together because it was not necessary to travel to work. In addition the way of life of households is that life is sufficiency, and they can endure and protect themselves with a self-help approach

Keywords: sufficiency lifestyle, management forest rehabilitated, local knowledgy

Article Details

บท
Original Articles