ประสิทธิผลโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • เทพสุดา รุ่งสาง
  • สุรีย์ จันทรโมลี
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ
  • มยุนา ศรีสุภนันต์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพแบบ มีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง โดยประยุกต์ทฤษฎีสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ 6 ด้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลแสวงหา จำนวน 84 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่ายเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2559 จนถึง เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มี ค่าความตรงของเนื้อหา .67, 1.00 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .86 และ .84 การวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์ t-test ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ดีกว่าก่อนการทดลอง (M=3.45, SD=0.76) และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M=4.11, SD=0.54)
  2. หลังการทดลอง (M=4.11, SD=0.54) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อน การทดลอง (M=3.54, SD=0.66) และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (t=10.58, p<.001)
  3. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับสูง (M=4.48, SD=0.71) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (M=2.82, SD=0.88)
  4. หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับสร้างเสริมสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลอง (M=7.73 , SD=0.70) และกลุ่มเปรียบเทียบ (M=3.23 , SD=0.64) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=7.53, p<.01)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-26