การตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดมะหาด

Authors

  • นางทิฐิมา ภาคภูมิ และ นางสาวกัลยาภรณ์ จันตรี

Keywords:

สารสกัดมะหาด, จุลินทรีย์ก่อโรค

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในสารสกัดมะหาดและตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดมะหาดเมื่อสกัดด้วยเอทานอลและโพรพิลีนไกลคอล จากการทดลองพบว่าสารสกัดมะหาดที่ละลายในเอทานอลจะต้านเชื้อ S. aurues ที่ความเข้มข้น 25 mg/ml ได้บริเวณยับยั้งเชื้อ 1.60±0.31 เซนติเมตร จะต้านเชื้อ P.aeruginosa ได้ที่ความเข้มข้นน้อยสุดคือ 1.56 mg/ml ได้บริเวณยับยั้งเชื้อ 1.5±0.5 เซนติเมตร โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย (MIC) ของสารสกัดมะหาดละลายในเอทานอล ในการยับยั้งเชื้อ S. aurues, P. aeruginosa และ C. albican มีค่าเท่ากับ 1.56  mg/ml และ MIC ของสารสกัดมะหาดละลายในโพรพิลีนไกลคอล ในการยับยั้งเชื้อ S. aurues,  P. aeruginosa  และ  C. albican  มีค่าเท่ากับ 3.125 mg/ml, 12.50 mg/ml และ 3.125 mg/ml ตามลำดับ และทำการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ตามมาตรฐานด้วยวิธี Microbial limit test  ในผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่ทำมาจากสารสกัดมะหาดพบว่า ผลิตภัณฑ์โลชั่นมะหาด ครีมอาบน้ำมะหาด สครับมะหาด ครีมเบสมะหาด ไม่พบเชื้อ S. aureus,  E. coli,  P. aeruginosa, Clostridium spp.และC. albicans ในตัวอย่างทุกชนิดและจำนวนแบคทีเรียยีสต์ และ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ พบว่าในทุกผลิตภัณฑ์ มีค่าไม่เกิน 1,000 CFU/ml ซึ่งเป็นไปตามค่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ดังนั้นสารสกัดมะหาดเหมาะอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไปได้ เนื่องจากมะหาดมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : สารสกัดมะหาด  จุลินทรีย์ก่อโรค

 

Abstract

  To evaluate the antimicrobial activity of A. Lakoocha extract against pathogen, extracted by using ethanol and propylene glycol. The result show that ethanol extract of A. Lakoocha had the inhibition zone against S. aurues and P.aeruginosa1.60±0.31 centimeter and 1.5±0.5 centimeter respectively. The minimal inhibitory concentration (MIC) of A. Lakoocha extract, the ethanol extract of A. Lakoocha to inhibit S. aurues, P. aeruginosa  and C. albican was 1.56  mg/ml, the propylene glycol extract of A. Lakoocha to inhibit S. aurues  P. aeruginosa  and C. albican were 3.125 mg/ml , 12.50 mg/ml and 3.125  mg/ml respectively. All cosmetic formulations which extracted from A. Lakoocha.were detected by microbial limit test. This results show that all cosmetic formulations are undetected the contamination of microorganisms and found the total aerobic plate countless than 1000 CFU/ml. Therefore, the A. Lakoocha of formulars should develop to the cosmetics. Because of A. Lakoocha have the efficiency of against microorganism highly.

Keyword : Artocarpus lakoocha extract, pathogens, Inhibition zone  MIC

Downloads

How to Cite

และ นางสาวกัลยาภรณ์ จันตรี น. ภ. (2015). การตรวจสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดมะหาด. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science, 7(3), 75–92. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sdust/article/view/29377

Issue

Section

Original Articles