การกำจัดรีซอร์ซินอลและพาราฟินิลีน ไดอะมีนในน้ำทิ้งสีย้อมผมด้วยเถ้าแกลบ

Authors

  • กรรณิการ์ ถนอมสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • รัตนา มหาชัย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศักดิ์สิทธิ์ จันทร์ไทย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

บทคัดย่อ

นำเถ้าแกลบดำและขี้เถ้าแกลบมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดรีซอร์ซินอลและพาราฟินิลีนไดอะมีน ในน้ำทิ้งสีย้อมผม โดยศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุทั้งสอง ได้แก่ พีเอชของสารละลาย พื้นที่ผิว จำเพาะ พิสูจน์เอกลักษณ์ทางโครงสร้าง วิเคราะห์องค์ประกอบและการกระเจิงแสงรังสีเอกซ์ การทดลองแบบ ถังแช่ ทำการศึกษาพารามิเตอร์ที่มีผลต่อการดูดซับได้แก่ เวลา (t) น้ำหนักวัสดุ (m) การเปลี่ยนแปลงพีเอช (pHmax ) ความเข้มข้นสารเริ่มต้น (Co) และผลของสารลดแรงตึงผิว สภาวะการทดลองที่เหมาะสมได้แก่ เวลา ที่ใช้ 10 วัน น้ำหนักวัสดุ 0.05 กรัม/ลิตรและพีเอชสูงสุดมีค่า 6 ใช้โมเดลเฟรนดลิชในการวิเคราะห์ไอโซเทอร์ม ที่สมดุล ความจุของการดูดซับมีค่า 0.0083±0.0005, 0.0098±0.0006 มิลลิโมล/กรัม (8.349± 0.5087, 9.8199±0.6813มิลลิกรัม/กรัม) สำหรับรีซอร์ซินอล และมีค่า 0.0179±0.0001,0.0189±0.0001 มิลลิโมล/กรัม (17.9697±.7500,18.9603±0.1138 มิลลิกรัม/กรัม) สำหรับพาราฟินิลีนไดอะมีนเมื่อใช้เถ้าแกลบดำและขี้เถ้าแกลบ ตามลำดับ สำหรับวิธีการต่อเนื่องให้ค่าความจุการดูดซับ 0.0087, 0.0051 มิลลิโมล/กรัม (1.3300, 1.1777 มิลลิกรัมต่อกรัม) สำหรับรีซอร์ซินอล และมีค่า 0.0386, 0.0108 มิลลิโมล/กรัม (4.1791, 3.6144 มิลลิกรัมต่อกรัม) สำหรับพาราฟินิลีนไดอะมีนด้วยวัสดุทั้งสองตามลำดับ สรุปได้ว่าวิธีการนี้สามารถนำไปใช้ทำเป็นระบบกำจัด น้ำทิ้งในสีย้อมผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

The feasibility of using black rice husk ash (BRHA) and fly rice husk ash (FRHA) for removal of resorcinol and para-phenylenediamine from hair coloring wastewater were investigated physical and chemical characteristic of BRHA and FRHA such as pHsolution, identification structure, elemental analysis and X-ray diffraction were studied. Batch experiments were carried out to determine the influence of parameters like contract time (t), adsorbent dose (m), variation pH (pHmax), initial concentration (Co) and effect of surfactant.The optimum conditions were found to be t 10 days, m 0.05 g/l and pHmax 6. Equilibrium isotherms were analyzed by Freundlich model. The adsorption capacities were 0.0083±0.0005, 0.0098±0.0006 mmole/g (8.349± 0.5087,9.8199±0.6813 mg/g) for resorcinol and 0.0179±0.0001, 0.0189±0.0001 mmole/g (17.9697±.7500,18.9603±0.1138 mg/g) for para-phenylenediamine using of BRHA and FRHA respectively. For column method the capacities were 0.0087, 0.0051 mmole/g for resorcinol and 0.0386 ,0.0108 mmole/g for para-phenylenediamine at pH 6 by both sorbents respectively.Accordingly it is concluded that this study could be effective and practical for utilizing in hair coloring wastewater treatment.

Downloads

How to Cite

ถนอมสิทธิ์ ก., มหาชัย ร., & จันทร์ไทย ศ. (2013). การกำจัดรีซอร์ซินอลและพาราฟินิลีน ไดอะมีนในน้ำทิ้งสีย้อมผมด้วยเถ้าแกลบ. Creative Science, 1(2), 129–142. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10202