พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษา

Authors

  • ฉัตรมงคล สวนกัน นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • พจมาน ชำนาญกิจ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาที่พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัย 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษาของ เด็กปฐมวัย 3) ประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเซียงเซา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) เกมการศึกษา 2) แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อเกม การศึกษาของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

1. เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 84.12/83.70

2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษา สูงกว่าก่อน การจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อเกมการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to determine the efficiency of educational games developing of analytical thinking skills, 2) to compare analytical thinking skills for preschool children before and after organizing experiences using educational games, and 3) to assess the satisfaction of preschool children.

The sample selected by the purposive sampling was 18 kindergarteners who studying in the second semester of academic year 2010 at Ban Siangsao School. The research instruments were : 1) the educational games, 2) the experience plans to develop of analytical thinking skills, 3) the test of analysis thinking skills, and 4) satisfaction questionnaire of preschool children toward educational games. The percentage and standard deviation use to analyze the data and t–test for dependent group were employed in testing hypothesis.

The findings of this study were as follows :

1. The efficiency of educational games to develop analytical thinking skills of children performance was 84.12/83.70.

2. The analytical thinking skills for preschool children after organizing experiences using educational games was significantly higher than the score of those before the experience at .01 level.

3. The satisfaction of the preschool children toward educational games in overall was at the high level.

Downloads

How to Cite

สวนกัน ฉ., & ชำนาญกิจ พ. (2013). พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ด้วยเกมการศึกษา. Creative Science, 4(7), 117–128. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/9976