การเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

รตนภูมิ โนสุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาและข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  ปีการศึกษา 2558  ทั้งหมด 155  โรงเรียน  จำนวน 310  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีสรุปผลการวิจัย


                ผลการวิจัยการพบว่า  เตรียมความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3  โดยรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย มากที่สุด คือ ด้านการเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้านเจตคติ อยู่ในระดับมาก  รองลงมา คือ ด้านการเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้านทักษะ/กระบวนการ อยู่ในระดับมาก  และด้านการเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ


             ปัญหาการดำเนินงาน พบว่า ปัญหาที่มีค่าความถี่สูงสุดในแต่ละด้าน คือ  งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานไม่เพียงพอ นักเรียนยังไม่มีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ และนักเรียนยังขาดความตระหนักในความเป็นอาเซียนเท่าที่ควร


             ข้อเสนอแนะการดำเนินงานที่มีค่าความถี่สูงสุดในแต่ละด้าน คือ ควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม และเพียงพอ   ควรมีการส่งเสริมความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง และควรมีการสร้างความตระหนักให้นักเรียนเข้าใจประชาคมอาเซียนให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

แพรภัทร ยอดแก้ว. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมใจ กงเติม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อรวรรณ สีลวานิช. (2554). ความพร้อมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์กับการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคม
อาเซียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.