การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรที่ปลูกยางพารา

Main Article Content

อภิชาติ ชนประชา
พหล ศักดิ์คะทัศน์
สถาพร แสงสุโพธิ์
มงคล ถิรบุญยานนท์
ศุภวัฒน์ สินสุวงศ์วัฒน์

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรที่ปลูกยางพารา (Development a shot-course of agricultural vocation training model to build the capacity of farmers to plant rubber trees) มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาศักยภาพของเกษตรกรในการจัดการยางพารา พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการฝึกอบรมการจัดการยางพารา และเปรียบเทียบศักยภาพในการจัดการยางพาราของเกษตรกร การวิจัยในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้


                   ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาศักยภาพของเกษตรกรในการจัดการยางพารา เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง มีจำนวน 694 คน ใช้สูตรคำนวณของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 254 คน โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 277 คน ใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ด้านความรู้ของเกษตรกรในการจัดการยางพารา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ มีผู้ผ่านเกณฑ์จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 30.69 และมีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 69.31 ด้านเจตคติต่อศักยภาพของเกษตรกรในการจัดการยางพารา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการนำไปปฏิบัติต่อศักยภาพของเกษตรกรในการจัดการยางพารา อยู่ในระดับปานกลาง


                   ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการฝึกอบรมการจัดการยางพารา โดยการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำและอำเภอภูซาง ตำบลละ 3  คน ซึ่งมีทั้งหมด 16 ตำบล รวมทั้งสิ้น 48 คน เข้าร่วมสนทนากลุ่ม เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการฝึกอบรมการจัดการยางพารา และร่วมแรกเปลี่ยนในเรื่องของปัญหาและอุปสรรคของการฝึกอบรมศักยภาพของเกษตรกรในการจัดการยางพารา ผลการศึกษา พบว่า ความต้องการพัฒนาด้านความรู้ ซึ่งเกษตรกรให้ความสำคัญด้านความรู้ในเรื่องของปุ๋ยยางพารามากที่สุด รองลงมาคือการดูแลสวนยางพาราในหน้าแล้ง ลำดับที่สามพันธุ์ยางพาราที่ปลูกในประเทศไทย ตามลำดับ ส่วนความต้องการพัฒนาด้านการนำไปปฏิบัติ ข้อที่มีระดับต้องการสูงที่สุด คือ วิธีปลูกยางพารา  รองลงมาคือเทคนิคการปลูกยางชำถุงไม่ให้ดินในถุงแตก อันดับที่สามคือการเพิ่มอินทรียวัตถุในสวนยาง เมื่อพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดไว้ พบว่า  ประเด็นที่ 1 ด้านสถานที่ พบว่า เกษตรกรต้องการฝึกอบรมที่หมู่บ้านโดยมีคิดเห็นในระดับมาก  ประเด็นที่ 2 ด้านเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรมฝึกอบรม พบว่า เกษตรกรต้องการเอกสารการฝึกอบรมที่เน้นความรู้ วิธีการปฏิบัติและรูปภาพ โดยมีคิดเห็นในระดับมาก ประเด็นที่ 3 ด้านสถานที่ศึกษาดูงาน พบว่า เกษตรกรต้องการให้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนยางพาราขนาดเล็ก โดยมีคิดเห็นในระดับมาก ประเด็นที่ 4 ด้านแนวทางในการฝึกอบรม พบว่า เกษตรกรต้องการให้มีการให้ความรู้ร่วมกับปฏิบัติและศึกษาดูงาน โดยมีคิดเห็นในระดับมาก ประเด็นที่ 5 ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม พบว่า เกษตรกรต้องการหลักสูตรฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 3 วันโดยมีคิดเห็นในระดับปานกลาง จากการสนทนากลุ่มทั้งห้าประเด็นในด้านความต้องการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเรื่องการจัดการยางพารา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการหลักสูตรฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 3 วัน ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เป็นเวลาครึ่งวันการฝึกปฏิบัติเป็นเวลา 1 วันครึ่ง และการศึกษาดูงานเป็นเวลา 1 วัน


                   ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบศักยภาพในการจัดการยางพาราของเกษตรกร จากการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้นที่ใช้ในปัจจุบันกับรูปแบบที่พัฒนาการศึกษาที่ได้ในขั้นตอนที่ 2 กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างได้แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จำนวน 123 คน โดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ด้านผลการทดสอบความรู้ในภาพรวม คะแนนหลังจากอบรมสูงกว่าก่อนอบรบ สำหรับด้านเจตคติและด้านการนำไปปฏิบัตินั้นพบว่า เกษตรกรหลังการฝึกอบรมมีความคิดเห็นที่ดีกว่าก่อนอบรม

Article Details

บท
บทความ

References

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา. (2552). สรุปผลการดำเนินงานการฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น พ.ศ. 2549-2552.

สำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฏร์ธานี. (2533). รายงานการฝึกอบรมหลักสูตรการกรีดยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้จัดทำโครงการศูนย์กลางการผลิตยางพาราที่มีคุณภาพครบวงจร ปี 2533. เอกสารรายงาน.

อริยา เผ่าเครื่องและธงชัย เตวิน. (2554). การผลิตยางพาราของตำบลทุ่งกล้วย จังหวัดพะเยา และบทบาทการสนับสนุนของ อบต. มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบล
ทุ่งกล้วย.