การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมพิธีกรรมทางพุทธศาสนากับการดำรงรักษาอัตลักษณ์ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยองจังหวัดลำพูน

Main Article Content

เจษฎา สอนบาลี

บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์วรรณกรรมพิธีกรรม ทางพุทธศาสนากับการดำรงรักษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ไทยองจังหวัดลำพูน ผลการศึกษาพบว่า ประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ หรือ ยอง พบหลักฐานในยุคที่ล้านนาทำการฟื้นม่านขับไล่พม่าออกจากล้านนาและกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองตอนเหนือลงมาสร้างบ้านแปงเมืองเรียกว่าเป็น “ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ชาวไทยองทั้งเจ้านาย และไพร่เมืองได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเมืองต่างๆ ในล้านนา โดยเฉพาะเมืองลำพูน ซึ่งพบหลักฐานประวัติศาสตร์ความเป็นมากว่า 200 ปี ประเพณีพิธีกรรมในวิถีชีวิตของชาวไทยอง มีลักษณะคล้ายกันในกลุ่มชาติพันธุ์ไท หรือ ไต บริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อัตลักษณ์ความเชื่อที่มีเหตุผลแฝงด้วยกุศโลบายที่ปลูกฝังจากคำสั่งสอนในวรรณกรรมพิธีกรรม ซึ่งสิงเหล่านี้กำลังจะเสื่อมสูญไปจากสังคมชาวไทยอง งานวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลเอกสารลายลักษณ์ และ ข้อมูลมุขปาฐะจำนวน ๖ สำนวน/พิธีกรรม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) กลุ่มประเพณีพิธีกรรมระดับส่วนรวม 2) กลุ่มประเพณีพิธีกรรมระดับครอบครัว 3) กลุ่มประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับวิญญาณและความตาย
   แนวทางในการฟื้นฟูอัตลักษณ์วัฒนธรรม พบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) ชาวไทยองต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันสร้างความตระหนักโดยการถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่รุ่นสู่รุ่นต่อไป 2)ชาวไทยองควรมีแผนการจัดการวัฒนธรรมของตนเอง 3) ชาวไทยองควรอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการฟื้นฟูอัตลักษณ์ของตนเอง 4) ชาวไทยองควรมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และ 5) ชาวไทยองควรพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยใช้ปัจจัยที่เป็นแรงดึงดูดจากภายในและภายนอก ให้รู้จักสนใจในความเป็นชาวไทยอง อัตลักษณ์ของชาวไทยองจะดำเนินต่อไปอย่ายั่งยืนสืบไปต้องไม่โดดเดี่ยว หรือ โลดโผนบนทางหนทางวัฒนธรรมต่างระดับ เพื่อนพี่น้องผองชาติพันธุ์จะร่วมกันปะมือสู้วิกฤตระบบล่มสลายของวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมจอมปลอม หน้ากากแห่งการแสวงหาผลกำไรบนหนทางแห่งวัฒนธรรมชาติพันธุ์ ที่กลุ่มผู้แสวงหาต้องการกำไรที่นิรันดรไม่มีที่สิ้นสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวี สว่างปัญญางกูร. (2547). ตำนานเมืองยอง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2550). 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440 – 2540, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คบไฟ.
ธารา บัวคำศรี. (2550). การเคลื่อนย้ายทางพื้นที่และความเสี่ยงด้านสุขภาพของคนงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ.
วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ภูมิศาสตร์) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญฤทธิ์ เผือกวัฒนะ. (2550). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขแพร่จํากัด. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (เกษตรศาสตร์) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ยศ สันตสมบัติ. (2543). หลักช้าง : การสร้างใหม่ของอัตลักษณ์ไทในใต้คง. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์จำกัด.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2543). สังคม – วัฒนธรรม ในวิถีการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร :ด่านสุทธาการพิมพ์.

สุวิภา จำปาวัลย์. (2556). ชาติพันธ์ไทยในจังหวัดลำพูน ชาติพันธ์พื้นราบในล้านนา, (สถาบันวิจัยสังคม) เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แสวง มาละแซม. (2544). คนยองย้ายถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาทิตยา จันทิมา. (2552). ความเป็นยอง: การฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นและการเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์ในภาวะสมัยใหม่วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (วัฒนธรรมศึกษา) เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

เกตุ ภูเวียง. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านแม่สารบ้านตอง. สัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2556.