มาตรการควบคุมทางกายภาพสำหรับการพัฒนาเมือง: กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น

Authors

  • ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

มาตรการ, การควบคุมทางกายภาพ, การพัฒนาเมือง, ประเทศญี่ปุ่น, measure, physical control, urban development, Japan

Abstract

บทคัดย่อ

การผังเมืองนับเป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมทางกายภาพสำหรับการพัฒนาเมือง การผังเมืองไม่ได้มีความหมาย ครอบคลุมเพียงการวางผัง “เมือง” เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการวางผัง “สภาพทางกายภาพของพื้นที่เมือง” อีกด้วย สำหรับ การพัฒนาเมืองในประเทศญี่ปุ่น กฎหมายการผังเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผัง ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมือง และโครงการพัฒนาเมือง

จากการที่ประเทศญี่ปุ่นมีหลักการในการวางผังเมืองที่ชัดเจน มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยแบ่งเป็น พื้นที่ส่งเสริมความเป็นเมืองและพื้นที่ควบคุมความเป็นเมือง มีกฎหมายสนับสนุนการปฏิบัติงานทั้งกฎหมายแม่บทและ กฎหมายสนับสนุน มีองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการวางผังเมือง รวมทั้งมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็น รูปธรรม จึงทำให้มาตรการควบคุมทางกายภาพของประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จ ทำให้การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่าง เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่แต่ละย่านการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมทั้งยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศที่มีรากฐานทาง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ยาวนานไว้ด้วย

คำสำคัญ : มาตรการ, การควบคุมทางกายภาพ, การพัฒนาเมือง, ประเทศญี่ปุ่น

 

Abstract

City planning is one of the physical control measures for urban development which does not connote planning of “cities” but more accurately implies “physical planning in urban area”. For urban development in Japan, City Planning Law composes of three main components; land-use plan, urban facility plan and urban development projects.

Japan has definite city planning principles; land-use area which was designated as urbanization promotion areas (UPA) and urban control areas (UCA); supportive law for implementation; responsible authorities for city planning, and concrete process of people participating. Therefore, physical control measure in Japan succeeds. It provides the urban development which is suitable to the context of each urban area and conserves the root of long history and culture of the country.

Keywords : measure, physical control, urban development, Japan

Downloads

How to Cite

บุณย์เพิ่ม ท. (2013). มาตรการควบคุมทางกายภาพสำหรับการพัฒนาเมือง: กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น. Modern Management Journal, 7(2), 1–12. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/11820