การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ศักดิ์สุริยา ไตรยราช

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปรากฏในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 4 ปี (พ.ศ.2553-2556) ของ 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลจากการวิเคราะห์อาจนำไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าชายแดนของภูมิภาคให้มีศักยภาพสูงพร้อมต่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

จากการวิเคราะห์พบว่า ใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเพียง 9 จังหวัดที่มีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านและมีด่านถาวร และทุกจังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์การค้าชายแดนรวมอยู่ในยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ และเมื่อวิเคราะห์ลงไปเฉพาะยุทธศาสตร์ด้านการค้าชายแดนมีข้อค้นพบที่สำคัญของแผนยุทธศาสตร์ 3 ประเด็น คือ 1) คุณลักษณะของแผนยุทธศาสตร์การค้าชายแดนพบว่าเป็นแผนเชิงรับที่ยังอยู่กับงานประจำมากกว่าที่จะเป็นแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ มีความนามธรรมมากยากแก่การนำไปปฏิบัติ และแผนไม่มีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ให้เห็นชัดเจน 2) กรอบของยุทธศาสตร์การค้าชายแดนของทุกจังหวัดมีความคล้ายคลึงกัน คือ เป็นในเรื่องการศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อเอื้ออำนวยการค้าชายแดนให้มีความสะดวก โดยเฉพาะการส่งผ่านสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือรับสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามา แผนไม่มีจุดเน้นในการที่จะดึงเอาจุดแข็งหรือความรู้ภูมิปัญญาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพและขายได้ในตลาดอาเซียน และ 3) ในแผนยุทธศาสตร์ไม่มีกลยุทธ์ของการสร้าง หรือกำหนดผลผลิตหรือบริการ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขายในตลาดอาเซียน ทั้งที่ตัวชี้วัดของการค้าชายแดนคือมูลค่าการค้าขายลงทุนและรายได้จากการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีตัวสินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่จะนำมาพัฒนาให้มีศักยภาพเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขายและแข่งขันได้ในตลาดอาเซียน

ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ 1) ก่อนการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าชายแดนของภูมิภาค จังหวัดควรร่วมมือกับชุมชน ผู้รู้ในชุมชน และภาคส่วนอื่น ในการวิเคราะห์หาศักยภาพ จุดแข็ง และองค์ความรู้ของชุมชนที่โดดเด่นที่จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ของภูมิภาคที่ขายได้  2) ในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าชายแดนนั้น จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนและที่มีจุดแข็งด้านการค้าชายแดนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรได้วิเคราะห์ทิศทางและจุดแข็งของยุทธศาสตร์การค้าชายแดนร่วมกัน และ 3) บุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ควรมีความรู้ด้านการค้าชายแดนและรู้จักปัญหาเชิงพื้นที่ดีพอ

คำสำคัญ: 1. แผนยุทธศาสตร์.   2. การค้าชายแดน.   3. เศรษฐกิจชายแดน.  4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

 

Abstract

This article aims to analyze the border trade strategic plan which is recorded in the provincial strategic plan (2010-2013) of nineteen provinces in the Northeastern part of Thailand. The findings can be used as a baseline for developing the border trade strategic plan for advantages of Thailand in the ASEAN Market.

It was found that there are nine provinces (out of nineteen) that had included border trade strategies in their provincial strategic plans.  The nine provinces are located near the borderline of neighboring countries and had their border trade strategies included as a part of the provincial economic strategic plans.  By analyzing the strategies in details, three significant findings are as follows. (1) The characteristics of border trade strategic plans demonstrated that the strategic plan extensively emphasized on regular work more than strategic work. Moreover, vision, goal, key performance indicators (KPI), and strategic issues were not related to the core of strategic plans. Furthermore, the strategic issues were very complicated, abstract, and difficult to implement. (2) Each province used the similar border trade strategic framework. Mostly, it focuses on infrastructure, transportation and logistics, improving laws and regulations, and developing entrepreneurs’ competency. Finally, (3) Lack of creating or developing products and services have affected the competitiveness in the ASEAN market.

As a result, the suggestions for the provinces are: (1) the provinces should collaborate with the local communities in order to increase their competencies to produce the potential products and services. The analysis of strength and potential in producing the products and services are recommended, (2) People, local agencies and provinces who involve in the border trade activities should participate in developing the border trade strategic plan.  Finally, (3) those who are responsible for provincial strategic plan development should be oriented with knowledge and skills in strategic plan development techniques, and border trade activities.

Keywords: 1. Strategic plan. 2. Border Trade. 3. Trade Economic. 4. Northeastern Region.

 

Article Details

Section
บทความประจำฉบับ