ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจเพื่อนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชี: การศึกษา ความต้องการเพื่อนำไปออกแบบการเรียนการสอน A BUSINESS ENGLISH COURSE FOR THE 4TH YEAR STUDENTS OF ACCOUNTANCY: FROM NEEDS TO COURSE DESIGN

Authors

  • จุฬาภรณ์ กองแก้ว สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Language Institute.

Keywords:

การศึกษาความต้องการ ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ นิสิตสาขาการบัญชี การออกแบบ การเรียนการสอน

Abstract

บทคัดย่อ


        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริหารจัดการและเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี อาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพการบัญชี และนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อออกแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจใหม่ ทั้งนี้เพื่อเตรียมนิสิตในการเข้าทำงานสาขาวิชาชีพการบัญชี ผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลแบบผสมผสานระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณลักษณะ โดยในเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่มข้างต้น
ส่วนในเชิงคุณลักษณะนั้น ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ในเชิงลึกทางโทรศัพท์ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละ กลุ่มๆ ละ 2-4 คน จากข้อมูลทั้งสองแหล่งปรากฏว่าผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าวิชาภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจเพื่อนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชีควรจะเน้นพัฒนาทักษะในการใช้ภาษา ทักษะที่ควรจะพัฒนาในลำดับต้นคือทักษะการพูดและการสื่อสาร นอกจากนี้ทักษะอื่นที่ควรจะได้รับการพัฒนาคือทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการทำงานร่วมกัน ส่วนการออกแบบการเรียน การสอนนั้น ข้อมูลปรากฏว่าวิชาใหม่นี้ควรจะใช้การสอนแบบเน้นโครงงานหรือภาระงานเป็นหลัก โดยมีอาจารย์ผู้สอนภาษาเป็นผู้อออกแบบโครงงาน ภาระงาน ขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ จากผลการศึกษายังพบว่าการจัดการเรียนการสอนควรมีการผสมผสานสื่อสารสอนและเอกสารที่เป็นของจริง การตระหนักรู้เรื่องวัฒนธรรม การจัดบรรยายจากแขกรับเชิญที่เกี่ยวกับวิชาชีพ และการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ใช้ภาษาในสถานการณ์จริง สุดท้ายนี้มีข้อคิดเห็นว่าวิชาใหม่ควรจะใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อการเรียนการสอนบนฐานของเทคโนโลยีเว็บ และข้อมูลทางธุรกิจที่มาบูรณาการบนเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

 

Abstract


        This research aims at investigating the needs of the faculty of Commerce and
Accountancy administrators, language teachers, stakeholders, and the fourth year students
of the faculty of Commerce and Accountancy to design a new business English course for
an entry level job in their field. To identify these needs, the study identified and involved
all of the stakeholders in the data reliability gathering process. The study employed a
mixed-method research methodology- the quantitative and qualitative method. As for the quantitative method, the questionnaire for each group was modified to gather all parties’ opinion. As for the qualitative method, two to four people from each group were telephoned for an in-depth interview. The data from both the questionnaires and the interviews revealed that the course should develop skills. The top priority skills are speaking and communication. Other necessary skills that should be incorporated are critical thinking and analytical skills, problem solving, as well as collaborating skills. In terms of course design, the course should highlight a project-based or a task-based learning approach having an English teacher as a course designer. The integration of authentic materials, cultural awareness, guest speakers from the profession, and language exposures, electronic devices, web-based learning materials, as well as e-business news are concerned.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จุฬาภรณ์ กองแก้ว, สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Language Institute.

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-29

How to Cite

กองแก้ว จ. (2016). ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจเพื่อนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการบัญชี: การศึกษา ความต้องการเพื่อนำไปออกแบบการเรียนการสอน A BUSINESS ENGLISH COURSE FOR THE 4TH YEAR STUDENTS OF ACCOUNTANCY: FROM NEEDS TO COURSE DESIGN. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 8(15, January-June), 43–57. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/55735