การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศไทย CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY DISCLOSURE IN THAILAND

Authors

  • วิภา จงรักษ์สัตย์ ภาควิชาการบัญชี คณะบัญชีการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ

Keywords:

ความรับผิดชอบต่อสังคม รายงานแห่งความยั่งยืน ซีเอสอาร์ ISO 26000

Abstract

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม SET 100 Index จำนวน 100 บริษัท โดยใช้แบบตรวจรายการในการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยอยู่บนพื้นฐานของรายการที่ควรเปิดเผย 7 หัวข้อหลักตามมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 และรายงานแห่งความยั่งยืนประจำปี 2554

            ผลการศึกษาพบว่า บริษัทในกลุ่ม SET 100 Index ส่วนใหญ่(ร้อยละ 28) มีการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับมากกว่า ร้อยละ 70 และร้อยละ 13 มีการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ในระดับร้อยละ 91-100 ถ้าจำแนกการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวม 7 หัวข้อหลักตาม ISO 26000 พบว่า บริษัททั้งหมดในกลุ่ม SET 100 Index เปิดเผยข้อมูลครบทุกประเด็นในหัวข้อ ธรรมมาภิบาล เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีข้อกำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีการเปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1
ส่วนหัวข้อที่มีการเปิดเผยน้อยที่สุด คือหัวข้อด้านสิ่งแวดล้อม อาจเป็นไปได้ว่าบริษัทในกลุ่ม SET 100 Index จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน และกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีการดำเนินงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าอุตสาหกรรมกลุ่มอื่นๆ

            นอกจากนี้ยังพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่ม SET 100 Index (ร้อยละ 79) ยังไม่มีการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน โดยบริษัทที่มีการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร

 

 

 

Abstract

        The purposes of this study are to identify the levels of corporate social responsibility disclosure of firms in the SET 100 Index group (100 firms) in Thailand. This study developed the checklist, consisting of 7 core subjects and 41 CSR disclosure items based on ISO 26000 guideline, as a research instrument to measure the extent of CSR disclosure and the content analysis was used to extract the CSR disclosure items from a annual report, the annual registration statement (Form 56-1) and the sustainability report (CSR report) for the year ended 2011.

        The results showed that the majority of firms in the SET 100 Index groups had the level of CSR disclosure index based on ISO 26000 more than 70 percent and 13.0 % had the level of CSR disclosure between 91-100%. Out of 7 core subjects of ISO 26000, this research found that all firms in the SET 100 index group had disclosed all issues in the organization governance subjects since all firms in the SET were required by office of the Securities and Exchange Commission to disclose the organization governance information in the annual registration statement. The core subject that had the lowest level of CSR disclosure is the Environment subject. It was possible that nearly half of number of firms in the SET100 index group were in the Service industry, the Financial industry and the Property & Construction industry, whose operations had less environmental impact than other industries.

        Besides, the majority of firms in the SET 100 index group (79%) had no sustainability reports. The majority of firms with sustainability reports were in the Resource industry.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

วิภา จงรักษ์สัตย์, ภาควิชาการบัญชี คณะบัญชีการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-29

How to Cite

จงรักษ์สัตย์ ว. (2016). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในประเทศไทย CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY DISCLOSURE IN THAILAND. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 8(15, January-June), 128–144. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/55835