การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)

Main Article Content

สมชัย วงษ์นายะ
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ


การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) ในด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ดุษฎีบัณฑิต นักศึกษาระดับปริญญาเอก และผู้ใช้บัณฑิต เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการประเมินพบว่า อาจารย์ที่เกี่ยวข้อง ดุษฎีบัณฑิต และนักศึกษาระดับปริญญาเอก มีความเห็นว่า ปัจจัยเบื้องต้นในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดได้แก่ ด้านนักศึกษา ด้านอาจารย์ ด้านผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ด้านหลักสูตร และด้านวัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ ส่วนด้านกระบวนการโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ด้านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และด้านบริการต่างๆ ผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า คุณภาพของดุษฎีบัณฑิต ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านคุณลักษณะที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย “ความรู้คู่ชุมชน” อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านทักษะการวิเคราะห์      เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก


An Evaluation of Doctoral Degree in Administration and Development Strategy Curriculum (Revised 2013), Kamphaeng Phet Rajabhat University


ABSTRACT


The purpose of this research was to evaluate the doctoral degree in administration and development strategy curriculum (Revised 2013) in input, process, and output of program of study. Questionnaires were used to collect the data from the lecturers involved, Ph.D. students, graduates, and graduates’ employers. The collected data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research findings revealed that the opinions of lecturers involved, Ph.D. students, and graduates on the overall input aspect were at the highest level. When considering each aspect, it was found that the highest aspects were students, lecturers, dissertation advisors, curriculum, and materials and buildings. The overall process aspect was also at the highest level. The highest aspects were learning management, conducting dissertation, experience- enhancement activities, and services. The opinions of the employers on five aspects of graduate quality including ethics and moral, knowledge, cognitive skills, interpersonal skills and responsibility, and university identity (knowledge and community) were at the highest level, whereas numerical analysis, communication and information technology skills was at the high level.

Article Details

Section
-