ภูมิสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและเสี่ยงภัยแล้งลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและเสี่ยงภัยแล้งในลุ่มน้ำคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้ภูมิสารสนเทศ และวิธีการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมใช้ตัวเกณฑ์ 7 ตัว ประกอบด้วย ความน่าจะเป็นที่จะถูกน้ำท่วม ปริมาณน้ำฝนในช่วงฝนมาก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ความหนาแน่นของถนน ระดับความสูงของพื้นที่ ความลาดชัน และระยะห่างจากเส้นทางน้ำ ส่วนการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งใช้ตัวเกณฑ์ 7 ตัว ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝนในช่วงแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ระยะห่างจากทรัพยากรน้ำ ค่าดัชนี NDDI เนื้อดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และอุณหภูมิ ผลการศึกษาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตไม่เสี่ยงถึงเสี่ยงน้อยที่สุดครอบคลุมเนื้อที่ 206.57 ตารางกิโลเมตร หรือ 129,106.25 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.64 รองลงมาคือ เสี่ยงน้อย (ร้อยละ 34.37) เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 8.26) เสี่ยงมาก (ร้อยละ 3.92) และเสี่ยงมากที่สุด (ร้อยละ 0.81) ตามลำดับ ส่วนพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับมาก ครอบคลุมเนื้อที่ 231.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 144,718.75 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 59.00 รองลงมาคือ เสี่ยงมากที่สุด (ร้อยละ 17.84) เสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 11.55) ไม่เสี่ยงถึงเสี่ยงน้อยที่สุด (ร้อยละ 9.29) และ เสี่ยงน้อย (ร้อยละ 2.32) ตามลำดับ


Geomatics for Analysis of Flood and Drought Risk Areas in Klong Suan Mak Basin, Kamphaeng Phet Province


ABSTRACT


This study is part of project “the survey, collect and analysis of spatial data for conservation and management of natural and cultural resources at Klong Suan Mak basin, Kamphaeng Phet province.” The study aims to analysis of flood risk and drought risk areas in Klong Suan Mak basin, Kamphaeng Phet province by using Geomatics tools and Multi-criteria Decision Analysis: MCDA. For flood risk analysis use 7 criteria include flood probability, rainfall during rainy season, annual rainfall, road density, elevation, slope and distance from stream. While, drought risk analysis use 7 criteria include rainfall during dry season, annual rainfall, distance from water resource, Normalized Difference Drought Index: NDDI, soil texture, land use and land cover and temperature. The results found mostly flood risk area located in non-risk to very low risk zone that cover 206.57 km2 or 129,106.25 Rais (52.64%) followed by low risk (34.37%), moderate risk (8.26%), high risk (3.92%) and very high risk (0.81%). In cases of drought risk found mostly flood risk area located in high risk zone that cover 231.55 km2 or 144,718.75 Rais (59.00%) followed by very high risk (17.84%), moderate risk (11.55%), non-risk to very low risk (9.29%) and low risk (2.32%), respectively.

Article Details

Section
-