พัฒนาการของระบบสวัสดิการในประเทศไทย จาก พ.ศ. 2475 ถึง 2543: ข้อสังเกตจากการศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีกับประสบการณืของประเทศไทย

Main Article Content

ธร ปีติดล

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของระบบสวัสดิการกับประสบการณ์ของประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ. 2475 ถึง 2543 เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญในพัฒนาการของระบบสวัสดิการไทยและลักษณะของนโยบายที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว การศึกษาพบว่าทฤษฎีจากบริบทของตะวันตกที่อธิบายถึงปัจจัยเช่น การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมแบบอุตสาหกรรม การเคลื่อนไหวทางชนชั้น รวมถึงการตื่นตัวเรื่องสิทธิทางสังคม ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลสำคัญต่อพัฒนาการของระบบสวัสดิการนั้น เป็นคำอธิบายที่ไม่ตรงกับประสบการณ์ของประเทศไทย


เส้นทางของพัฒนาการในระบบสวัสดิการไทยถูกอธิบายได้ดีกว่าด้วยทฤษฎีที่มาจากบริบทของประเทศกำลังพัฒนาที่เน้นสภาพทางการเมืองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการของระบบสวัสดิการ การขาดหายไปของกลไกประชาธิปไตยในช่วง พ.ศ. 2500-2530 ส่งผลให้นโยบายสวัสดิการในด้านต่างๆ เกิดการขยายตัวอย่างจำกัดและไม่ครอบคลุมถึงคนยากจน ด้วยนโยบายสวัสดิการถูกกำกับด้วยเป้าหมายของรัฐแบบเผด็จการที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งประเทศไทยเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2530-2543 กลไกในระบบประชาธิปไตยจึงได้ผลักดันให้นโยบายสวัสดิการของไทยขยายตัวและมีความทั่วถึงมากขึ้น


การที่ระบบสวัสดิการของไทยไม่ได้ถูกขับเคลื่อนโดยบทบาทของขบวนการแรงงานหรือพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ส่งผลให้รูปลักษณะของนโยบายสวัสดิการต่างๆ ในไทยไม่เหมือนกับนโยบายสวัสดิการในบริบทตะวันตกเสียทีเดียว การทำงานของกลไกทางการเมืองในบริบทของประชาธิปไตยไทยยังได้รับอิทธิพลจากคุณลักษณะแบบศักดินาราชูปถัมภ์ ส่งผลให้นโยบายสวัสดิการที่ให้การอุปถัมภ์ไปที่ประชาชนเฉพาะกลุ่มมีความสำคัญทางการเมือง สภาพนี้สร้างเงื่อนไขให้การขยายสวัสดิการไปสู่คนยากจนของไทยมักจะออกมาในลักษณะนโยบายที่อุดหนุนไปที่เกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายที่มักประสบข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพในการกระจายประโยชน์ให้ทั่วถึงคนยากจน ฉะนั้น โจทย์สำคัญในการพัฒนาระบบสวัสดิการของไทยจึงเป็นคำถามที่ว่าจะพัฒนานโยบายสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในขณะที่ยังสามารถตอบเงื่อนไขทางการเมืองไปพร้อมกันได้อย่างไร  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475. กรุงเทพ: ฟ้าเดียวกัน, 2553.

ปรีดี พนมยงค์. เค้าโครงเศรษฐกิจหลวงประดิษฐ์มนูธรรม. กรุงเทพ: สุขภาพใจ, 2552.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเกอร์. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์มบุคส์, 2546.

พรรณี บัวเล็ก. การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย: บทสำรวจสถานะความรู้. กรุงเทพ: สําานักพิมพ์สยาม, 2555.

อภิชาต สถิตนิรามัย. รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ: จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2556.

Anttonen, A. Liisa Häikiö, Kolbeinn Stefánsson, and Sipilä. “Unversalism and the Challenge of Diversity.” In

Welfare State, Universalism and Diversity, edited by Anttonen, A. London: Edward Elgar Publishing, 2012.

Apichat Satitniramai. “Yellow vs. Red and the Rise of a New Middle Class in Thailand.” In Citizenship and Democratization in Southeast Asia, edited by Berenschot, W.,Nordholt, H.S., and Bakker, L. Leiden: Brill, 2016.

Baldwin, P. The Politics of Social Solidarity: Class Bases of the European Welfare State, 1875-1975. Cambridge University Press, 1990.

Bates, Robert H. Markets and States in Tropical Africa. Berkeley: Universityof California Press, 1981.

Flora, P. A. and A.Alber. “Modernization, Democratization, and the Development of Welfare States in Western Europe.” In The Development of Welfare States in Europe and America, edited by P. Flora and A. J. Heidenheimer. New Brunswick: Transaction Books, 1981.

Gough, I. and G. Wood. “Introduction.” In Insecurity and Welfare Regimes in Asia, Africa and Latin America: Social Policy in Development Contexts, edited by Gough, I. and G. Wood with A. Barrientos, P. Bevan, P. Davis and G. Room. Cambridge: Cambridge University Press, 2004.

Haggard, S. and Kaufman, R. Development, Democracy, and Welfare States: Latin America, East Asia, and Eastern Europe. Oxford: Princeton University Press, 2009.

Immergut, E. The Political Construction of Interests: National Health Insurance Politics in Switzerland, France and Sweden, 1930-1970. New York: Cambridge University Press, 1992.

Kerr, C., Harbison, F. H., Dunlop, J. T., & Myers, C. A.. Industrialism and Industrial Man. Cambridge: Harvard University Press, 1960.

Marshall, T. H. Citizenship and Social Class, and Other Essays. Cambridge: Cambridge University Press, 1950.

O’Connor, J. The Fiscal Crisis of the Welfare State. New York: St.James Press, 1973.

Skocpol, T. “Introduction.” In Bringing the state back in, edited by Evans, P. B., Rueschemeyer, D., & Skocpol, T. Cambridge: Cambridge University Press, 1985.

Swenson, P. Capitalists against Markets: the Making of Labor Markets and Welfare States in the United States and Sweden. Oxford: Oxford University Press, 2002.

Walker, A. Thailand’s Political Peasants: Power in the Modern Rural Economy. Madison: University of Wisconsin Press, 2012.

Walker, R. “Conclusion: towards the Analysis of Social Policy in Developing World.” In Social Policy in a Developing World, edited by R.Surender and R. Walker. Gloucester: Edward Elgar Publishing, 2013.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ‘ความหมายของชนบทเมื่อเทียบกับเมือง.’ มติชนสุดสัปดาห์, 28 พฤศจิกายน และ 5 ธันวาคม 2557, 20.

ทีดีอาร์ไอ. ข้าว เงิน ชาวนา-ผลกระทบของนโยบายจำนำข้าว. TDRI Factsheet, ฉ. 1 (ตุลาคม 2555).

Gough, I. “Globalization and Regional Welfare Regimes: the East Asian case.” Global Social Policy, 1 (2) (2001): 163-189.

Hewison, K. “Neo-liberalism and Domestic Capital: the Political Outcomes of the Economic Crisis in Thailand.” The Journal of Development Studies 41, no. 2 (2005): 310-330.

Korpi, W. “Social Policy and Distributional Conflict in the Capitalist Democracies. A Preliminary Comparative Framework.” West European Politics 3, no.3 (1980): 296-316.

Korpi, W. “Power, Politics, and State Autonomy in the Development of Social Citizenship: Social Rights during Sickness in Eighteen OECD Countries since 1930.” American Sociological Review 54, no. 3 (June 1989): 309-328.

Kwon, H. J. “The Reform of the Developmental Welfare State in East Asia.” International Journal of Social Welfare, 18 (2009): S12-S21.

Myles, J., & Quadagno, J. Political Theories of the Welfare State. Social Service Review 76, no.1 (2002): 34-57.

Nishisaki, Y. Provincializing Thai Politics. Kyoto Review of Southeast Asia. 1 (March 2002). https://kyotoreview.org/issue-1/provincializing-thai-politics/ (accessed June 10, 2017).

Pawadee Tonguthai. “Social Security for the Thai People.” ASEAN Economic Bulletin 3,1 (July, 1986): 145-56.

Robinson, J. The Political Economy of Redistributive Policies. A background paper for the UNDP project on “Markets, the State and the Dynamics of Inequality: How to Advance Inclusive Growth.” (2008) http://www.ibrarian.net/navon/paper/The_Political_Economy_of_Redistributive_Policies.pdf?paperid=16409986. (accessed June 10, 2017).

Schramm, B. Explaining Social Policy: the Development of Social Security in Thailand. Paper presented at the International Workshop on “Asian Welfare Policy Responses to the Crash of 1997” in Bergen / Norway, 16-18 August 2001. https://www.researchgate.net/profile/Bernd_Schramm/publication/239832328_Explaining_Social_Policy_The_DDevelopmen_of_Social_Security_in_Thailand/links/55e47f4a08ae6abe6e90283e/Explaining-Social-Policy-The-Development-of-Social-Security-in-Thailand.pdf (accessed June10, 2017).

Sukunya Nitungkorn. “The Problems of Secondary Education Expansion in Thailand.” Southeast Asian Studies 26, no.1 (June 1988): 24-41.

Wood, G. and Gough, I. “A Comparative Welfare Regime Approach to Global Social Policy.” World Development 34 no.10 (2006): 1696-1712.

นิธิ เอียวศรีวงค์. หัวข้อที่ 24 การพัฒนาสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. เอกสารประกอบคําาสอนวิชาสังคมและวัฒนธรรมไทย. เว็บไซต์ http://www.human.cmu.ac.th/courseonline/huge/050103/page103.php (สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2558).

สํานักงานประกันสังคม. ความเป็นมาของการประกันสังคม. จากเว็บไซต์ http://www.sso.go.th/library/sites/all/themes/library/web_content/history/1.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2558).

Saxer, Marc. Middle Class Rage Threatens Democracy. Published on 21 January 2014. http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2014/01/21/middle-class-rage-threatens-democracy/ (Accessed June 11, 2015).