ปัจจัยที่มีผลต่อการตกลงพรมแดนในดินแดนมลายูระหว่างสยามและอังกฤษในสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1909

Main Article Content

ฐนพงศ์ ลือขจรชัย

บทคัดย่อ

การตกลงพรมแดนระหว่างสยามและอังกฤษเหนือดินแดนมลายูในปี ค.ศ.1909 แบ่งดินแดนมลายูออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสตูลในประเทศไทย กับรัฐกลันตัน ตรังกานู และเคดะห์ (ไทรบุรี) ในประเทศมาเลเซีย การตกลงพรมแดนครั้งนี้ไม่เพียงแบ่งดินแดน แต่ได้แบ่งกลุ่มคนชาติพันธุ์เดียวกันให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง บทความนี้ตั้งคำถามที่สำคัญว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสนธิสัญญาพรมแดนระหว่างสยามและอังกฤษปี ค.ศ.1909

การศึกษาพบว่ามีปัจจัย 5 ประการที่ส่งผลให้เกิดการตกลงพรมแดน เช่นนั้นคือ 1. ชาติและชาติพันธุ์ 2. รัฐสืบทอด 3. เศรษฐกิจและการปกครอง 4. ภาพลักษณ์ประเทศ และ 5. นโยบายจักรวรรดินิยมของอังกฤษต่อดินแดนมลายู สยามอ้างอธิปไตยของตนเหนือราชอาณาจักรปัตตานี (สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน) ตรงข้ามกับรัฐมลายูอื่นที่สยามพิจารณาว่าเป็นประเทศราช ส่วนอังกฤษมีนโยบายที่จะไม่ผนวกดินแดนมลายูในฝั่งสยามแต่เลือกที่จะทำอนุสัญญาลับในปี ค.ศ.1897 ซึ่งผลของอนุสัญญาได้เปลี่ยนดินแดนมลายูในฝั่งสยามให้เป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ ในปี ค.ศ.1907 สยามเสนอยกดินแดนมลายูของตนแลกเปลี่ยนกับการยกเลิกอนุสัญญาลับเพื่อจะได้สร้างทางรถไฟสายใต้ การเจรจาสำเร็จลงในปี ค.ศ.1909 โดยสยามตกลงโอนดินแดนกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปะลิส และเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษแลกกับการที่อังกฤษยกเลิกอนุสัญญาลับปี ค.ศ.1897 ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือสยาม และให้กู้เงินในการสร้างทางรถไฟ ตามข้อตกลงนี้สยามยังคงเก็บดินแดนมลายูบางส่วนไว้ได้แก่ มณฑลปัตตานี (สามจังหวัดชายแดนภาคใต้) สตูล (แบ่งออกจากไทรบุรี) และตากใบ (แบ่งออกจากกลันตัน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร.5 ยธ.5.5/24 บันทึกความเห็นเรื่องสร้างทางรถไฟไปแหลมมลายู.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ม.2.1 14/74, เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้, (7 ธันวาคม ร.ศ. 115).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ม.49/27, นายเฟรมและนายกันวง ทูลกรมหมื่นดำรงฯ (11 มิ.ย. ร.ศ.114).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 ม.23/2 โทรเลขพระยาศรีสหเทพกรมหลวงเทวะวงศ์โรปการ (26 กันยายน 2445).

กองบรรณสาร, กระทรวงต่างประเทศ. แฟ้ม 2.6 “ความเห็นเรื่องเขตรแดนหลวงพระบาง” ของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ (6 ตุลาคม ร.ศ. 122).

F.O.69/103. Satow’s Memo on the Malayan Question (June 20, 1885).

F.O.69/103. Satow’s Memo on the Malayan Question (June 20, 1885).

F.O.69/204. Greville to Solisbury (October 27, 1899).

F.O. 69/218. Swettenham-Marguess of Salisbury (November 17, 1898).

F.O. 69/224. from Duff Syndicate to the Foreign Office.

F.O.69/227. Minute by F.A. Campbell 18 March 1902 on Tower to Lansdowne, No.20, Secret, (February 8, 1902).

F.O.371/331. Memorandum of Conversation between The King of Siam and Mr. Strobel (November 23, 1907).

F.O.371/739. Beckett to Gray, No.58, Confidential (July 7, 1909).

F.O.422/47. Chamberlain-Mitchell (May 5, 1897).

F.O.422/47. Chamberlain-Mitchell (May 5, 1897).

ไกรฤกษ์ นานา. สยามที่ไม่ทันได้เห็น. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์, 2554.

ไกรฤกษ์ นานา. หน้าหนึ่งในสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.

คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. สยามประเทศไทยกับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. เขตแดนสยามประเทศไทยกับลาวและกัมพูชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.

ชุมพล รักงาม และ สุธี เทียนคำ. สยามประเทศในมุมมองฝรั่งเศส. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์รุ่ง จำกัด, 2555.

ดิเรก ชัยนาม. การสิ้นสุดแห่งสภาพนอกอาณาเขตต์ในกรุงสยาม. ที่ระลึกวันคล้ายวันสถาปนา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบ 55 ปี วันที่ 14 มิถุนายน 2547.

เตช บุนนาค. การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435-2458: กระทรวงมหาดไทยสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. แปลโดย ภรณี กาญจนนัษฐิติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

แถมสุข นุ่มนนท์. การเมืองและการต่างประเทศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524.

แถมสุข นุ่มนนท์. การทูตไทยสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2528.

ทวีเกียรติ เจนประจักษ์. ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2540.

ทวีศักดิ์ ล้อมลิ้ม. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมลายูในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2516.

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. ความเป็นมาของทฤษฏี “แบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

ธงชัย วินิจจะกูล. กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ, แปลโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์, ไอดา อรุณวงศ์ และ พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร่วมกับ สำนักพิมพ์อ่าน, 2556.

ธีรยุทธ บุญมี. ชาตินิยม และหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร, 2545.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. สยามประเทศไทยกับ “ดินแดน” ในกัมพูชาและลาว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย; มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี .กรุงเทพฯ: มติชน, 2555.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ปากไก่และใบเรือ รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ต้นรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2527.

พรสรรค์ วัฒนางกูร. การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2440. กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546.

เพ็ญศรี ดุ๊ก. การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย (ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงสิ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม). พิมพ์ครั้งที่ 3 [แก้ไขและปรับปรุง]. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด, 2554.

ลูอิส ไวเลอร์. กำเนิดการรถไฟในประเทศสยาม. แปลโดย ถนอมนวญ โอเจริญ และ วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

วริศรา ตั้งค้าวานิช. ประวัติศาสตร์ “สุโขทัย” ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

วราภรณ์ เรืองศรี. คาราวานและพ่อค้าทางไกล: การก่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: หจก.วินิดาการพิมพ์, 2557.

สายชล สัตยานุรักษ์. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน, 2546.

อารีฟีน บินจิ, อ. ลออแมน และ ซูฮัยมีย์ อิสมาแอล์. ปาตานี-ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู. สงขลา: มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้, 2556.

Barbara Andaya and Leonard Andaya. Sejarah Malaysia. Kuala Lumpur: MacMillan Publisher, 1893.

Brian Harrison. South East Asia: A Short History. London: Macmillan & Co., 1957.

Kennedy Tregonning. Malayan History. Singapore: Macmillan and Co Ltd., 1962.

กิ่งแก้ว นิคมขำ. “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างไทยและอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองมลายูในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2443-พ.ศ. 2452.” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.2519).

ชวลีย์ ณ ถลาง. “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างความสัมพันธ์ของหัวเมืองประเทศราชฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้กับรัฐบาลไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2521).

สายจิตต์ เหมินทร์. “การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิสของไทยให้แก่อังกฤษ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2507).

Beemer, Bryce. “Construcing The Ideal State: The Idea of Sukhothai in Thai History.” Master of Art thesis, Asian Studies, University of Hawaii at Manoa, 1999.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. “แนวคิดชาติบ้านเมือง: กำเนิด พัฒนาการ และอำนาจการเมือง.” วารสารธรรมศาสตร์ 27, 2 (มิถุนายน 2549): 2-41.

Anker Rentse. “History of Kelantan.” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society XII, Vol. 12, No. 2 (119) (August, 1934): 48-63.

อดัม จอห์น. “สนธิสัญญาและบทบาทของบริเตนต่อการยึดครองพื้นที่ภาคใต้ของไทย,” http://prachatai.com/journal/2016/03/ 64566, (สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559).

ศุกรีย์ สะเร็ม. “เราเป็นใครในบ้านเรา.” ตีพิมพ์ครั้งแรกใน Halal Life Magazine ฉบับ กุมภาพันธ์ 2555, http://halallifemag.com/sukree-sarem/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560).

สุจิตต์ วงษ์เทศ. ““แขก” มุสลิม ในความเป็นไท.” นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน2555, http://www.sujitwongthes.com/2012/06/essay11062555/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560).

สุจิตต์ วงษ์เทศ. ““แขก” ปัตตานี ถูกกวาดต้อนเข้ากรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1.” นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559, https://www.matichonweekly.com/culture/article_10106, (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560).