ประติมานวิทยาและการกำหนดอายุสมัยของแผ่นไม้จำหลักประดับมิห์รอบของมัสยิดต้นสน

Main Article Content

มนวัธน์ พรหมรัตน์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของแผ่นไม้จำหลักประดับมิห์รอบของมัสยิดต้นสนด้วยหลักประติมานวิทยาและวิเคราะห์รูปแบบทางศิลปะเพื่อกำหนดอายุสมัย เนื่องจากแผ่นไม้จำหลักดังกล่าวยังคงไม่มีผู้ใดทราบประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน ผลจากการศึกษาประติมานวิทยาพบว่าแผ่นไม้ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงมโนทัศน์เรื่องจักรวาลวิทยาของอิสลามที่เน้นความเป็นเอกภาพและเดชานุภาพของพระเจ้าและความเป็นศาสนทูตของมุฮัมมัดเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ยังบรรจุเอาสัญลักษณ์และความหมายของหลักการอิสลามไว้อย่างครบถ้วนทั้งหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติจากการศึกษารูปแบบของแผ่นไม้เพื่อกำหนดอายุสมัยพบว่ามีระบบการจัดวางจักรวาลวิทยาแบบเดียวกับลายมงคลบนรอยพระพุทธบาทสมัยต้นรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 3 เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงสรุปได้ว่าศิลปกรรมบนแผ่นไม้ดังกล่าวสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพร้อมกับการสร้างมัสยิดหลังใหม่จากเดิมที่เป็นไม้มาเป็น อิฐราวสมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มุนิร มูฮําาหมัด. หลักการศรัทธาตามแนวอะฮฺลุซซุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2550.

วสมน สาณะเสน. “แนวคิด รูปแบบ และพัฒนาการของมิหร็อบมัสยิดต้นสน เขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.

วิราภรณ์ สุวดีปฐมพงศ์. “ระบบการจัดวางลายมงคลบนรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24.” การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺอัลมุเนาวะเราฮฺ: ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน, 2542.

อาดิศร์ อิดรีส รักษมณี. มัสยิดในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

อาริฟีน แสงวิมาน. หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์. ม.ป.ท., 2558.

เอเดรียน สนอดกราส. สัญลักษณ์แห่งพระสถูป. บรรณาธิการแปลโดย ภัทรพร สิริกาญจน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537.

Straten,Roelof van. An Introduction to Iconography. New York: Taylor and Francis, 1994.