การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ORGANIC LEDGER สำหรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส)

Main Article Content

สรธรรม เกตตะพันธุ์
ดุสิต อธินุวัฒน์
ชนัญ ผลประไพ

Abstract

บทคัดย่อ


หนึ่งข้อจำกัดในการขอใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คือ ข้อกำหนดการจดบันทึกการปฏิบัติในฟาร์ม ซึ่งเกษตรกรต้องใช้เวลามาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์และบนโทรศัพท์มือถือ สำหรับลดปริมาณการใช้กระดาษในการจดบันทึกการปฏิบัติในฟาร์มด้วยการบันทึกข้อมูลตามหลักการบัญชีแยกประเภทและตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วย QR code และเทคโนโลยี blockchain ซึ่งตั้งชื่อแอพพลิเคชั่นนี้ว่า ORGANIC LEDGER การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนเว็บไซต์ด้วยภาษาจาวา (Java) และวิธีมาตรฐานในรูปแบบกระบวนการ unified process ด้วยเทคโนโลยีการเขียนระบบบนเว็บไซต์ภายใต้โปรโตคอล HTTP ในขณะที่แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือถูกพัฒนาขึ้นบนมือถือในกลุ่มแอนดรอยด์ โดยบัญชีข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ บัญชีข้อมูลฟาร์มเกษตรอินทรีย์ บัญชีข้อมูลการปฏิบัติในฟาร์ม และบัญชีข้อมูลผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ที่บันทึกผ่าน ORGANIC LEDGER และแชร์ด้วยเทคโนโลยี blockchain ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้จะสร้าง QR code ของแต่ละบัญชีข้อมูลเพื่อการเข้าถึงบัญชีข้อมูลต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ โดยบัญชีข้อมูลที่บันทึกผ่านแอพพลิเคชั่นนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่สำหรับใช้ในการอ้างอิงได้ การประยุกต์ใช้ ORGANIC LEDGER ในกระบวนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส) เพื่อลดข้อจำกัดในการจดบันทึกการปฏิบัติในฟาร์มและการสูญหายของข้อมูล คณะกรรมการผู้ตรวจเยี่ยมฟาร์มสามารถเข้าถึงบัญชีข้อมูลทั้งหมดด้วยการสแกน QR code และตัดสินผลการตรวจประเมินฟาร์มผ่านแอพพลิเคชั่น ORGANIC LEDGER เพื่อออกใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบัญชีข้อมูลผลผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยการสแกน QR code ตรวจสอบย้อนกลับการปฏิบัติในฟาร์มตั้งแต่ปลูกถึงจุดกระจายผลผลิต โดยกลุ่มเกษตรอินทรีย์พีจีเอส จำนวน 4 กลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกเป็นเกษตรกรรายย่อยทั้งหมดจำนวน 18 คน ในพื้นที่เขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ได้ใช้ ORGANIC LEDGER ในการบริหารจัดการฟาร์มและการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พบว่าเกษตรกรทั้งหมดยอมรับ ORGANIC LEDGER ด้วยระดับคะแนน 4.88 จาก 5 แสดงให้เห็นว่า แอพพลิเคชั่นบันทึกการปฏิบัติในฟาร์มแบบไร้กระดาษ ORGANIC LEDGER สามารถทดแทนการจดบันทึกในแผ่นกระดาษได้ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) เทคโนโลยี blockchain เทคโนโลยี QR code ตลอดจนการเชื่อมโยงเทคโนโลยีทุกสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต ORGANIC LEDGER จึงเป็นเครื่องมือสำหรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ที่ทำให้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์และระบบการรับรองมีความน่าเชื่อถือและโปร่งใส ตลอดจนมีความแม่นยำ สะดวกสบาย และเหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยในการขยายพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์และเพิ่มจำนวนเกษตรกรอินทรีย์ให้เข้ากับยุคเกษตรดิจิทัล (digital agriculture) และนโยบาย Thailand 4.0 


คำสำคัญ : บล็อกเชน; การเชื่อมโยงเทคโนโลยีทุกสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต; เกษตรดิจิทัล; ไทยแลนด์ 4.0


 


Abstract


One of organic farming certification system limitation is farm practice recording that takes long time for farmers. This research aims to develop the web and mobile applications for paperless organic agriculture farm practice database or ledger record and trace back of organic products by using QR code and blockchain technology called ORGANIC LEDGER. Developed web application using Java and unified process web technology under HTTP protocol where mobile application developed on Android mobile. All ledgers including farm information ledger, farm practice ledger, and organic product ledger were recorded by distributed ledger using blockchain technology which QR code generated from each ledger for referring to the set of distributed data. Distributed ledger accounting systems could not be updated by users but could add new databases to the reference system. ORGANIC LEDGER was applied in Participatory Guarantee System (PGS) organic farm certification process to solve the problem of paper document recording and lost. PGS reviewer committee found all distributed ledgers recorded by QR code scanned and make the decision in peer reviews process via ORGANIC LEDGER system to verify the PSG certificate. Moreover, consumers and entrepreneurs also reach the organic products ledger by QR code scanned and also, trace back to farm practice since crop cultivation to the distribution center. Four small farmer PGS groups with 18 small farmers in Northern, North Eastern, Central, and Southern part of Thailand used ORGANIC LEDGER to organic farm management and PGS certification. ORGANIC LEDGER was recognized by all farmer with score 4.88 from 5. This revealed that paper farm recording was replaced by paperless ORGANIC LEDGER using multi technology including digital technology, blockchain, QR code, and internet of things. ORGANIC LEDGER is PGS certification tool that makes more credible and transparency to organic products and certification system and also accuracy, convenience, and suitable for small farmer to enlarge the organic production area and increase the number of organic farmers according to digital agriculture era and Thailand 4.0 policy. 


Keywords: blockchain; internet of things; digital agriculture; Thailand 4.0

Article Details

How to Cite
เกตตะพันธุ์ ส., อธินุวัฒน์ ด., & ผลประไพ ช. (2018). การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ORGANIC LEDGER สำหรับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส). Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 355–370. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.33
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

สรธรรม เกตตะพันธุ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ดุสิต อธินุวัฒน์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

ชนัญ ผลประไพ

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2560, แผนพัฒนาระบบเกษตรดิจิทัลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระยะปี (พ.ศ. 2560-2564), เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ, กรุงเทพฯ.
กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน, 2558, คู่มือแนวทางการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส), กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ, 71 น.
ดุสิต อธินุวัฒน์, จินตนา อินทรมงคล, สมชัย วิสารทพงศ์, ปริญญา พรสิริชัยวัฒนา และลักษมี เมตปราณี, 2559, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คืออะไร?, Thai J. Sci. Technol. 5(2): 119-134.
มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2558ก, มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม, กรุงเทพฯ, 28 น.
มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, 2558ข, แนวทางการตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อนในระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม, กรุงเทพฯ, 23 น.
สรธรรม เกตตะพันธุ์, 2560, การพัฒนาระบบบันทึกและตรวจสอบย้อนกลับกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ด้วยระบบพีจีเอส, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.
Abbasi, A.Z., Islam, N. and Shaikh, Z.A., 2014, A review of wireless sensors and networks applications in agriculture, Comp. Stand. Interf. 36: 263-270.
Chandra, K., 2014, The Global PGS Newsletter IFOAM: PGS India-PGA, The Government of India 4(8): 1-8.
Gebbers, R. and Adamchuk, V. I., 2010, Precision agriculture and food security, Science 327: 828-831.
Hong Kong Monetary, 2017, Whitepaper on Distributed Ledger Technology, Accessible Source: http://www.hkma.gov.hk/media/en g/doc/key-functions/finanical-infrastructure/ Whitepaper_On_Distributed_Ledger_Technology.pdf, January. 18, 2017.
IFOAM, 2014, PGS, Accessible Source: http:// www.ifoam.org/about_ifoam/standards/pgs.html, May 14, 2014.
Lansiti, M. and Lakhani, K.R., 2017, The truth about blockchain, Harvard Bus. 95: 119-127.
Lin, Y.P., 2017, The evolutionary next step for ICT E-agriculture, Environments 4(3): 50.
Marks, S., 2017, Blockchain for beginners guide to understanding the foundation and basics of the revolution, 87 p.
May, C., 2008, PGS GUIDELINES How Participatory Guarantee Systems can develop and function, Die Deutsche Bibliothek, Germany.
Moreno-Sanchez, P., Zafar, M.B. and Kate, A., 2016, Listening to whispers of ripple: Linking wallets and deanonymizing transactions in the ripple network, Proceedings on Privacy Enhancing Technologies 4: 436-453.
Mougayar, W., 2016, The business blockchain promise, practice and application of the next internet technology, John Wiley & Sons, Inc., USA.