การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกใหญ่โดยวิธีการผสมข้ามและทดสอบลูกผสมโดยการปักชำ

Main Article Content

จักรกฤษ แย้มสุดใจ
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
พัฒนา สุขประเสริฐ
สุวิสา พัฒนเกียรติ
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

Abstract

บทคัดย่อ


พิทูเนียเป็นไม้ดอกที่มีสวยงามและได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของพิทูเนียที่ขยายพันธุ์โดยการปักชำได้ เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี การศึกษาครั้งนี้ได้ปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์พิทูเนียดอกใหญ่ โดยศึกษาลักษณะบางประการของพิทูเนียในรุ่นลูกผสมจากพิทูเนียทางการค้า 8 พันธุ์ ผสมข้ามกับพันธุ์พิทูเนียเลื้อยที่สามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำได้ พบว่าพิทูเนียแต่ละคู่ผสมในรุ่นลูกผสมมีเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดและการรอดชีวิตของต้นกล้าส่วนใหญ่สูงกว่าพิทูเนียในพันธุ์แม่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกเฉลี่ยตั้งแต่ 2.23-6.93 เซนติเมตร สีของดอกในรุ่นลูกผสมมีการกระจายตัวทั้งหมด 38 สี แต่ละคู่ผสมมีการกระจายตัวของสีดอก 5-13 สี ซึ่งสีทั้งหมดอยู่ในกลุ่มสีหลัก 4 กลุ่มสี ได้แก่ red-purple group, purple group, purple-violet group และ white group ลูกผสมพิทูเนีย 12 ต้น ได้คัดเลือกจากต้นที่มีลักษณะดอกใหญ่ มีสีสันสวยงาม และเกิดการผสมตัวเองไม่ติด เมื่อทดสอบการปักชำพบว่ามีลูกผสม 6 ต้น ที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ ลูกผสม Grand White 1, Lime Green 1, Prism Blue 1, Prism Strawberry Sundae 1, Prism Strawberry Sundae 2 และ Prism Strawberry Sundae 3 โดยมีประสิทธิภาพการปักชำที่สูงไม่แตกต่างทางสถิติกับต้นพ่อ ซึ่งลูกผสมพิทูเนียที่ได้มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นพันธุ์ทางการค้าต่อไปในอนาคต และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียต่อไปได้ 


คำสำคัญ : การทนต่อสภาพแวดล้อม; การปักชำ; การผสมตัวเองไม่ติด; การงอกของเมล็ด


 


Abstract


Petunia was a beautiful flowering plant that was very popular. Especially in petunia that was propagated by cutting technique because it was very strong and tolerate to the environment. So the aims of this study were to hybrid and to select petunia line for the grandiflora flower, by studying some characteristics of cross-breeding petunia from 8 commercial petunias with the trailing type. For this study found that the hybrid generation had a higher percentage of seed germination and the survival of seedling period than the commercial petunia. The average diameter of the flower was between 2.23 to 6.93 centimeter. Color distributions of the flower were up to 38 colors and in each cross-breeding had 5 to 13 colors. All of the colors based on 4 groups of colors which were Red-Purple Group, Purple Group, Purple-Violet Group and White Group. Twelve of hybrid petunias were selected by selection from large, beautiful colors flower and self-incompatibility. The 12 of the selected hybrid petunias were tested vegetative propagation by cutting technique. In this experiment found that 6 of them; i.e. Grand White 1, Lime Green 1, Prism Blue 1, Prism Strawberry Sundae 1, Prism Strawberry Sundae 2 and Prism Strawberry Sundae 3, have a higher rate of vegetative propagation by cutting technique, no significant difference to their male parent. For this study showed that these petunias were able to breed and develop for the commercial. 


Keywords: environmental tolerance; cutting; self-incompatibility; germination

Article Details

How to Cite
แย้มสุดใจ จ., เตชะศีลพิทักษ์ ธ., สุขประเสริฐ พ., พัฒนเกียรติ ส., & พิริยะภัทรกิจ อ. (2018). การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกใหญ่โดยวิธีการผสมข้ามและทดสอบลูกผสมโดยการปักชำ. Thai Journal of Science and Technology, 7(3), 249–260. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.4
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

จักรกฤษ แย้มสุดใจ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

พัฒนา สุขประเสริฐ

ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สุวิสา พัฒนเกียรติ

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

References

เจนจิรา ลองพิชัย, 2551, การปรับปรุงพันธุ์พิทูเนียดอกสีเหลืองเพื่อให้ทนฝนและสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธนพร ขจรผล, 2544, การปรับปรุงพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์พิทูเนียที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำ, ปัญหาพิเศษปริญญาโท, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, 2545, เขียนเรื่องดอกไม้ไว้อ่านเล่น 2, สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ, 176 น.
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์, 2558, การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก, บริษัท แดเน็กอินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, กรุงเทพฯ ,415 น.
ปรัชญา เตวิยะ, 2545, การคัดเลือกพันธุ์และศึกษาลักษณะบางประการของพิทูเนียลูกผสมกลับ, ปัญหาพิเศษปริญญาโท, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พรรณี ศรีสวัสดิ์, 2543, การศึกษาอิทธิพลของรังสีแกมมาต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเจริญเติบโตของพิทูเนียพันธุ์ Pearl Wave, ปัญหาพิเศษปริญญาตรี, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไพศาล เหล่าสุวรรณ, 2527, หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช, โรงพิมพ์ไทยนำ, สงขลา, 320 น.
มงคล มหาเจริญเกียรติ, 2544, การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์บางลักษณะของพิทูเนีย 8 พันธุ์, ปัญหาพิเศษปริญญาโท, ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 16 น.
สนั่น ขำเลิศ, 2523, หลักและวิธีการขยายพันธุ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 209 น.
สมเพียร เกษมทรัพย์, 2524, ไม้ดอกกระถาง, โรงพิมพ์อักษรพิทยา, กรุงเทพฯ, 241 น.
AGA Agro, 2017, Petunia, Available Source: http://www.aggaagro.com/produc/subcategory/68/71/0/petunia, June 15, 2016.
Josef, C., Marketa, C. and Petr, S., 2016, Triploid Varieties of Petunia Hybrid Perspective Breeding Possibility, Czech Republic, Mendelnet.
Kelly, O.R., Zhanao, D. and Brent, K.H., 2006, Evaluation of Major and Assorted Crop as Bedding Plant Winter/Early Spring 2005-2006.
Plickert, K., 1936, Die Züchtung der grossblü-tigen superbissima-Petunien, Zuechter 8: 255-260.
Griesbach, R.J., 2007, Flower Breeding and Genetics, Petunia, U.S.A.
Sink, K.C., 1984, Monographs on Theoretical and Applied Genetics 9, Petunia, Springer-Verlag, Germany.
Suntory, 2017, Surfinia® Trailing Petunia, Available Source: http://suntorycollection.com/gardeners/surfinia%C2%AE-trailing-petunia/#plantinfo, December 12, 2017.
Trinklein, D., 2001, Petunia: A New Look at an Old Favorite, Missouri Environment and Garden Newsletter, Available Source: http://www.missouri.edu/newsletters/meg/archives/v7n6/index.htm.
Weddle, C.L., 1976, Plant Breeding, pp, 180-202, In Sink, K.C. (Ed.), Monographs on Theoretical and Applied Genetics 9, Petunia, Springer-Verlag, Germany.