ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อข้อมันเทศประดับเลื้อยในสภาพปลอดเชื้อ

Main Article Content

ปวีณนุช ศรีช่วย
ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์
เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์
สุวิสา พัฒนเกียรติ
อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

Abstract

บทคัดย่อ


มันเทศประดับเลื้อยเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม และมีแนวโน้มการใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ใน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณรังสีแกมมาที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการปรับปรุงพันธุ์มันเทศประดับเลื้อยทั้ง 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ที่มีใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวอ่อน (JP) และพันธุ์ที่มีใบรูปหัวใจ ใบสีม่วง (JPL) โดยนำส่วนข้อของมันเทศประดับเลื้อยมาฟอกฆ่าเชื้อและเลี้ยงบนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS แล้วนำไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่ปริมาณรังสีระดับ 20, 40, 60, 80 และ 100 เกรย์ และย้ายอาหารใหม่ถึงรุ่น M1V4 จากนั้นย้ายออกปลูกในโรงเรือน พบว่าการฉายรังสีแกมมาทำให้การเจริญเติบโตของมันเทศประดับเลื้อยทั้ง 2 สายพันธุ์ ลดลง ค่า LD50(60) ของมันเทศประดับเลื้อยพันธุ์ JP และ JPL เท่ากับ 37 และ 43 เกรย์ ตามลำดับ มันเทศประดับเลื้อยพันธุ์ JP เกิดการกลายทางทรงต้น คือ มีลักษณะความยาวข้อปล้องสั้นลงและต้นเตี้ย เมื่อได้รับรังสีแกมมา 20 เกรย์ ส่วนมันเทศประดับเลื้อยพันธุ์ JPL ไม่พบลักษณะการกลาย 


คำสำคัญ : มันเทศประดับเลื้อย; การปรับปรุงพันธุ์; การฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน; ข้อ


 


Abstract


Ornamental sweet potato is an attractive foliage plant that has become popular. The objective of this study was to investigate the most appropriate doses of gamma radiation for inducing mutations in 2 cultivars of ornamental sweet potatoes; one with heart-shaped and green leaves (JP), and the other with heart-shaped and purple leaves (JPL). The nodes of the lowercase sweet potato were sterilized and cultured on MS medium.The plants were acute irradiated at doses of 0, 20, 40, 60, 80 and 100 grays of gamma ray. They were subcultured until M1V4 generation and transferred into greenhouse for growing. The results showed that exposure to gamma radiation caused reduction of plant growth. The most appropriate doses of gamma radiation for inducing mutations in ornamental sweet potato were (LD50(60)) 37 grays for the JP and 43 grays for the JPL. The results also showed that the mutant plants of the 20 gray treatment ornamental sweet potato JP had short internodes and dwarf while those of JPL were not found. 


Keywords: ornamental sweet potato; mutation; acute gamma radiation; node

Article Details

How to Cite
ศรีช่วย ป., เตชะศีลพิทักษ์ ธ., วงศ์ชาวจันท์ เ., พัฒนเกียรติ ส., & พิริยะภัทรกิจ อ. (2018). ผลของรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันต่อข้อมันเทศประดับเลื้อยในสภาพปลอดเชื้อ. Thai Journal of Science and Technology, 7(3), 239–248. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.24
Section
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
Author Biographies

ปวีณนุช ศรีช่วย

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

เฌอมาลย์ วงศ์ชาวจันท์

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สุวิสา พัฒนเกียรติ

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 10220

References

กมลทิพย์ แสนสม, 2558, การปรับปรุงพันธุ์มันเทศประดับด้วยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้รังสีแกมมา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
คนึงขวัญ วิชชุตเวส, 2556, การปรับปรุงมันเทศประดับโดยใช้รังสีแกมมา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ณัฏฐา ผดงุศิลป์, การชักนำให้เกิดการกลายในต้นแพงพวยโดยการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน, ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4(1): 96-103.
ดวงจิต โตไทยะ, 2556, การใช้รังสีแกมมาชักนำให้หงส์เหินกลายพันธุ์ในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ.นุชรัฐ บาลลา, 2559, การปรับปรุงมันเทศประดับด้วยสิ่งก่อการกลายในสภาพปลอดเชื้อ, วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สิรนุช ลามศรีจันทร์, 2540, การกลายพันธุ์ของพืช, ภาควิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อรุณี วงศ์ปิยะสถิต, 2550, การกลายพันธุ์ : เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Datta, S.K., 1992, Radiosensitivity of garden chrysanthemum, J. Ind. Bot. Soc. 71: 283-284.
Huaman, Z., 1992, Systematic botany and morphology of the sweetpotato plant, Tech. Inform. Bull. 25: 1-22.
Kaensaksiri, T. and T. Kosakul., 2006, Effects of gamma radiation on gloxinia Sinningia speciose, J. Sci. Res. Chulalongkorn Univ. (Sec. T) 5(1): 13-23.
Kim, J.H., Baek, M.H., Chung, B.Y., Wi, S.G. and Kim, J.S., 2004, Alterations in the photosynthetic pigments and antioxidant machineries of red pepper (Capsicum annuum L.) seedlings from gamma-irradiated seeds, J. Plant Biol. 47: 314-321.
Lamseejan, S., Jompuk, P., Wongpiyasatid, A., Deeseepan, S. and Kwanthammachart, P., 2000, Gamma-rays induced morphological changes in chrysanthemum (Chrysan-themum morifolium), Kasetsart J. (Nat. Sci.) 34: 417-422.
Murashige, T. and Skoog, F., 1962, Revised medium for rapid growth and bio assays with tobacco tissue cultures, Physiologia Plantarum 15: 473-497.
Roongtanakiat, N., Jompuk, P., Rattanawong-wiboon, T. and Puingam, R., 2012, Radiosensitivity of vetiver to acute and chronic gamma irradiation, Kasetsart J. (Nat. Sci.) 46: 383-393.
Sangsiri, C., Boonkerd, P., Kajonphol, T. and Wiwacharn, P., 2015, Effects of gamma rays on Gladiolus hybrid cv. Blue’s angel, Kasetsart J. (Nat. Sci.) 43: 843-845.
Sawangmee, W., Taychasinpitak, T., Jompuk, P. and Kikuch, S., 2011, Effects of gamma-ray irradiation in plant morphology of interspecific hybrids between Torenia fournieri and Torenia baillonii, Kasetsart J, (Nat. Sci) 45: 803-810.
Wi, S.G., Chung, B.Y., Kim, J.S., Kim, J.H., Baek, M.H. and Lee, J.W., 2007, Localization of hydrogen peroxide in pumpkin (Cucurbita ficifolia Bouché) seedlings exposed to high dose gamma ray, J. Plant Biol. 49: 180-185.
Z’osimo, H., 1999, Sweetpotato germplasm management (Ipomoea batatas) manual, Int. Potato Center (CIP), 218.