การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ทิ้งงานก่อสร้างของส่วนราชการตามเอกสารของกรมบัญชีกลาง

Main Article Content

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์
กำพล ทรัพย์สมบูรณ์

Abstract

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและความถี่ของแต่ละรายละเอียดของผู้ทิ้งงานก่อสร้าง และศึกษาพัฒนาการของผู้ทิ้งงานก่อสร้างของส่วนราชการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ผู้ทิ้งงานก่อสร้างส่วนราชการ จำนวน 308 ราย ตามหนังสือแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงานของคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2559 ทั้งหมด 179 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์รายละเอียดผู้ทิ้งงานก่อสร้างส่วนราชการในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าความชัน และใช้สถิติเชิงอนุมาน chi-square เพื่อทดสอบสมมุติฐาน โดยตั้งนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นส่วนราชการที่มีผู้รับจ้างทิ้งงานมากที่สุด และเมื่อจำแนกเข้าไปในรายละเอียดของผู้รับจ้างทิ้งงาน พบว่ารูปแบบองค์กรธุรกิจที่ทิ้งงานมากที่สุด คือ นิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้าน มูลค่าโครงการที่ผู้รับจ้างทิ้งงานมากที่สุด คือ โครงการไม่เกิน 1 ล้านบาท ประเภทงานที่ผู้รับจ้างทิ้งงานมากที่สุด คือ งานอาคาร และที่ตั้งโครงการที่ผู้รับจ้างทิ้งงานมากที่สุด คือ ภาคกลาง สำหรับแนวโน้มการทิ้งงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเมื่อจำแนกเข้าไปในรายละเอียดพบว่าแนวโน้มการทิ้งงานของผู้รับจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา แนวโน้มการทิ้งงานมูลค่าโครงการมากกว่า 2 ล้าน ไม่เกิน 5 ล้านบาท แนวโน้มการทิ้งงานประเภทงานอาคารและแนวโน้มการทิ้งงานโครงการตั้งอยู่ภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุด ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าทุนจดทะเบียนของผู้ทิ้งงาน มูลค่าโครงการที่ผู้รับจ้างทิ้งงาน และประเภทงานที่ผู้รับจ้างทิ้งงาน กระจายเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับสาเหตุของปัญหาการทิ้งงาน เกิดจากผู้รับจ้างมีรูปแบบองค์กรธุรกิจเป็นนิติบุคคลขนาดเล็ก และ/หรือ เป็นบุคคลธรรมดา ขาดศักยภาพและความพร้อมด้านฐานะการเงิน บุคลากร เครื่องมือ เครื่องจักร ประสบการณ์และผลงาน ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง และรับงานต่ำกว่าราคากลาง รวมถึงประเภทและจำนวนงานก่อสร้างที่รับพร้อมกันหลายโครงการ 


คำสำคัญ : ผู้ทิ้งงาน; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน; ผู้รับจ้าง


 


Abstract


This research article aims to analyze and investigate the development of the contractors who abandon of the governmental construction work. The population of the research were the 308 contractors who abandon of the governmental construction work from the 179 circular letters of The Comptroller General's Department from 2012 to 2016. The data collection was based on detailed analysis form. The results were analyzed by descriptive statistics, by percentage and slope, and the hypothesis was tested by chi-square. The study demonstrated that the Office of the Basic Education Commission projects were mostly abandoned by the contractors those juristic person had a capital not exceeding 1 million baht. The type of projects was related to building work, which worth did not exceed 1 million baht and located at central region of Thailand. The tendency of the work abandonment of Office of the Basic Education Commission was increased. Concerning in detailed classification, the study demonstrated that most of contractors were the individuals and the projects’ worth was in a range of 2 to 5 million baht. The building work tended to be increased. With regard to the Office of the Basic Education Commission, the research showed that southern region projects seemed to be increased. The hypothesis testing revealed that the capital, the project values and types of work were distributed as significantly different proportions (p = 0.05). The cause of abandoned the construction work was shown to be due to the contractors, those were small juristic person, and/or individual with inadequate potential and unavailability such as lack of financial status, personnel, machine, tools, performance and related constraints. In addition, an auction lower than standard price and multiple concurrent construction projects were also related.


Keywords: contractor who abandons the work; Office of the Basic Education Commission; contractor

Article Details

How to Cite
แวนบอเซอร์ บ., & ทรัพย์สมบูรณ์ ก. (2018). การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ทิ้งงานก่อสร้างของส่วนราชการตามเอกสารของกรมบัญชีกลาง. Thai Journal of Science and Technology, 7(4), 427–441. https://doi.org/10.14456/tjst.2018.40
Section
วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
Author Biographies

บุญรักษ์ แวนบอเซอร์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

กำพล ทรัพย์สมบูรณ์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

References

กรมชลประทาน, 2560, การขึ้นทะเบียนชั้น, แหล่งที่มา : https://supply.rid.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=3723:2017-03-22-13-54-51, 28 มีนาคม 2560.
กรมทางหลวง, 2559, กลุ่มมาตรฐานผู้รับจ้าง, แหล่งที่มา : https://www.hwstd.com/welcome/Default.aspx, 20 สิงหาคม 2559.
กรมทางหลวงชนบท, 2547, หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น, ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2547, แหล่งที่มา : https://secretary.drr.go.th/05.php, 20 สิงหาคม 2559.
กรมเจ้าท่า, 2557, หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจ้าง, แหล่งที่มา : https://www.md.go.th/app/mdadmin/images/pload/news/2976-000.pdf, 20 สิงหาคม 2559.
กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2559, มยผ. 701-2553 มาตรฐานผู้รับจ้างงานก่อสร้าง (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2559, แหล่งที่มา : https://dpt.go.th/eprocurement_v3/other/document/701_2553_no2, 24 สิงหาคม 2559.
กัลยา วานิชย์บัญชา, 2553, การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
การเคหะแห่งชาติ, 2558, ระเบียบการเคหะแห่ง ชาติว่าด้วยการจดทะเบียนผู้รับจ้างงานก่อสร้างของการเคหะแห่งชาติ, แหล่งที่มา : https://www.nha.co.th/assets/intra/portals/12/news/13755/1.pdf, 20 สิงหาคม 2559.
ชูเวช เสนปาน, 2551, การศึกษาปัจจัยของปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, การศึกษาโครงการเฉพาะเรื่องปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
ลาวัลย์ ขันเกษตร, 2553, การศึกษาการเปรียบ เทียบคุณสมบัติเบื้องต้นผู้รับเหมาก่อสร้างทางของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท, การศึกษาโครงการเฉพาะเรื่องปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
วงศกร วศินธรรม, 2557, ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของผู้รับเหมาในงานก่อสร้างอาคาร, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิสูตร จิระดำเกิง, 2548, การบริหารงานก่อสร้าง, วรรณกวี, กรุงเทพฯ.
ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ, 2559, สรุปข้อมูลคดีที่ประชาชนและสังคมให้ความสนใจเป็นพิเศษ, แหล่งที่มา : https://www.pacc.go.th/cnac/index.php/main/report, 20 กรกฎาคม 2559.
สมาคมนักบริหารพัสดุแห่งประเทศไทย, 2559, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, แหล่งที่มา : https://www.cmatthai.net/index.php?option=com_content&view=article&id=29&Itemid=28, 19 สิงหาคม 2559.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช และเทียนสว่าง ธรรมวณิช, 2557, การแสวงหาผลตอบแทนส่วนเกินในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, แหล่งที่มา : https://tdri.or.th/wpcontent/uploads/2013/05/A151_Chapter5.pdf, 20 สิงหาคม 2559.
สันติ ชินานุวัติวงศ์, 2549, วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559, จำนวนโรงเรียนจำแนกรายเขตพื้นที่การศึกษา, แหล่งที่มา : https://data.bopp-obe c.info/emis/area_school.php, 22 มิถุนายน 2559.
สุรัตน์ ศรีจันทร์, 2552, ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคัดเลือกคุณสมบัติผู้เข้าประมูลงานการก่อสร้างของหน่วยงานราชการ, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
Abdullah, A.A. and Rahman, A.H., 2012, Identification of relevant risks in abandoned housing projects in Malaysia: A qualitative study, Proc. Soc. Behav. Sci. 62: 1281-1285.
Ayodele, E.O. and Alabi, O.M., 2011, Abandonment of construction projects in Nigeria: Causes and effects, J. Emerg. Trends Econ. Manag. Sci. (JETEMS) 2(2): 142-145.
Hanachor, M.E., 2012, Community development projects abandonment in Nigeria: Causes and effects, J. Educ. Pract. 3(6): 33-36.
Hoe, E.Y., 2013, Causes of Abandoned Construction Projects in Malaysia, Master Thesis, Universiti Tunku Abdul Rahman, Malaysia.
Holsti, O.R., 1969, Content analysis for the social sciences and humanities, Reading, Addison-Wesley, Massachusetts.
Okereke, O.C., 2017, Causes of failure and abandonment of projects and project deliverables in Africa, PM World J. 6(1): 1-16
Project Management Instritute, 2013, A guide to the project management body of knowledge, 5th Ed., Project Management Instritute, Inc., Pennsylvania.