การพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ราชวิทย์ ทิพย์เสนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนาระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ได้แก่ 1) บุคลากรประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ประกอบด้วย หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ จำนวน 1 คน ภัณฑารักษ์ จำนวน 3 คน และพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ จำนวน 2 คน 2) ชาวบ้านผู้มีความรู้ด้านภาชนะดินเผาบ้านเชียงและกลุ่มผลิตภาชนะดินเผาลายเขียนสีบ้านเชียง จาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม พัฒนาออนโทโลยีจากข้อมูลภาชนะดินเผาบ้านเชียงด้วยโปรแกรมโพรทีเจ เพื่อให้ได้ภาษา OWL ที่ใช้สำหรับการอธิบายออนโทโลยีและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล นำไปใช้ในการพัฒนาระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง


ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีคลาสหลัก จำนวน 4 คลาส ประกอบด้วย คลาสข้อมูลทางลักษณะ คลาสข้อมูลอายุสมัย คลาสข้อมูลรูปทรง และคลาสข้อมูลลวดลาย มีคลาสย่อย จำนวน 25 คลาส คุณสมบัติของคลาส ประกอบด้วย คุณสมบัติสำหรับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคลาส จำนวน 7 ความสัมพันธ์ และคุณสมบัติของชนิดข้อมูล จำนวน 26 คุณสมบัติ ระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีพัฒนาในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชัน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.25) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประสิทธิภาพของระบบสืบค้นฐานความรู้ (x̅ = 4.43)

Article Details

Section
Research Article