การพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน

Main Article Content

เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
จินดา ขลิบทอง
เพชร ทวีวงษ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบทของแหล่งท่องเที่ยว (2) กระบวนการสื่อสารภายใน (3) เครือข่ายการสื่อสาร (4) การได้รับและความต้องการความรู้และปัญหา (5) พัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ประชากรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 26 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นเจ้าของและผู้ให้ความร่วมมือ รวม 156 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา สถิติเปรียบเทียบ Factor analysis และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า บริบทที่สำคัญมาก 3 อันดับ ได้แก่ สภาพแวดล้อม ความเชี่ยวชาญ และความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ เปรียบเทียบความแตกต่างการสื่อสารภายในและภายนอก พบว่าส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ อุปกรณ์สื่อสารภายใน เป็นสมาร์ทโฟน โทรศัพท์พื้นฐาน โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต สื่อที่ใช้พัฒนาการบริการ เป็นสื่อบุคคลและสิ่งพิมพ์ สื่อสารเครือข่ายระดับมากกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวภาครัฐและกิจกรรม โดยระยะเตรียมการเป็นการนัดรวมตัวและประชาสัมพันธ์ ระยะก่อตั้งเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และสร้างผู้นำ ระยะดำเนินการเป็นกำหนดกลยุทธ์และแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิก ระยะขยายเครือข่ายเป็นการติดต่อกันทำกิจกรรมร่วมกันและพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ วิเคราะห์องค์ประกอบด้านสื่อสารได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างผู้นำ การประสาน การมีส่วนร่วม และการบริหารเครือข่าย ได้รับความรู้มากที่สุด คือ การจัดกิจกรรมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ความรู้ที่ต้องการ คือ การประชาสัมพันธ์ ตลาด การให้บริการ และจัดการเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล วิธีการสื่อสารเป็นฝึกปฏิบัติ ทัศนศึกษา สาธิต และบรรยาย ปัญหาระดับมาก ได้แก่ การบริการ ที่พัก พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์

Article Details

Section
Research Article