A comparison of home-based walking program versus yoga exercise on cardiovascular system among pregnant women in second trimester: a randomized trial

Authors

  • Sucharat Chatthai Department of Physiotherapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Satita Mukkitikan Department of Physiotherapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University
  • Kornanong Yuenyongchaiwat Department of Physiotherapy, Faculty of Allied Health Sciences, Thammasat University 99 moo 18 Paholyothin Road, Khlong Luang, Pathumthani 12120

Keywords:

Pregnant women, Walking, Yoga exercise, Cardiovascular system, Exercise, หญิงตั้งครรภ์, การเดิน, การออกกำลังแบบโยคะ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, การออกกำลังกาย

Abstract

Introduction: Walking and yoga exercise are both popular in pregnant women. However, studies examined the effect of home-based walking program and yoga exercises on cardiovascular system are rare. Objective was to compare between the effects of walking program and yoga exercise on cardiovascular system among pregnant women in second trimester.

Method: Fourteen pregnant women aged between 18 - 35 years who had a gestation between 14 - 22 weeks were recruited; 7 participants in each group. Participants in the walking group were asked to wear a pedometer and required to walk an accumulating 7,500 steps/day; 5-day/ week. The yoga group received a CD and was required to perform the yoga exercise for 30 minutes, 5-day/week. Heart rate (HR), blood pressure, rate pressure product (RPP), and six minute walk test (6-MWT) were measured before and after 8 weeks program. T-test was performed to determine the effects of the home-based programs.

Result: Of 14 pregnant women, 11 women completed the study (mean age: 28.18 ± 5.83 years); five participants for the walking group and six participants for the yoga group. The participants among the yoga group decreased in systolic blood pressure (SBP) after 8-weeks (-12.50 ± 10.37 mmHg). However, individuals in walking group had a significantly higher HR and RPP compared with measurement prior to the study program. Compared to the walking group, yoga group tends to display lower SBP and RPP (-15.50 ± 5.40 mmHg, -2.12 ± 0.79 bpm*mmHg, respectively).

Discussion and Conclusion: Home-based yoga program resulted in decreased SBP after 8 weeks intervention. Further, this program showed SBP and RPP decreased when compared with the walking group. The study suggested that the home-based yoga exercise might be an alternative exercise program for decreasing SBP and RPP. However, a further study with a large sample size should be considered.

การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในหญิงตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ ๒: การทดลองเชิงสุ่ม

บทนำ: การเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะนับว่าเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาน้อยเกี่ยวกับผลของการเดินกับการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในหญิงตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสที่ ๒

วิธีการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์จำนวน ๑๔ คน อายุระหว่าง ๑๘ - ๓๕ ปี ที่มีอายุครรภ์ ๑๔ - ๒๒ สัปดาห์ โดยมีจำนวนกลุ่มละ ๗ คน อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินได้รับเครื่องนับก้าวเดิน และกำหนดให้เดินสะสมก้าวมากกว่าหรือเท่ากับ ๗,๕๐๐ ก้าวต่อวัน จำนวน ๕ วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะได้รับสื่อวีดิทัศน์การออกกำลังกายแบบโยคะด้วยตนเอง และกำหนดให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๕ วัน วันละ ๓๐ นาที ทำการศึกษาเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ค่าการใช้ปริมาณออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจและทดสอบระยะทางการเดิน ๖ นาที ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ใช้สถิติทดสอบ t-test เปรียบเทียบผลของโปรแกรมดังกล่าว

ผลการศึกษา: จากหญิงตั้งครรภ์จำนวน ๑๔ คน มีจำนวนอาสาสมัครทั้งสิ้น ๑๑ คนที่ทำการศึกษาจนครบโปรแกรมดังกล่าว (อายุเฉลี่ย ๒๘.๑๘ ± ๕.๘๓ ปี) โดยเป็นกลุ่มออกกำลังกายด้วยการเดินจำนวน ๕ คน และกลุ่มออกกำลังกายแบบโยคะจำนวน ๖ คน จากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครในกลุ่มออกกำลังกายด้วยโยคะ มีค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (-๑๒.๕๐ ± ๑๐.๓๗ มิลลิเมตรปรอท) ในขณะที่กลุ่มการเดินมีค่าอัตราการเต้นของหัวใจและค่าการใช้ปริมาณออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มโยคะมีแนวโน้มที่แสดงถึงการลดลงของค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวและค่าการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ (-๑๕.๕๐ ± ๕.๔๐ มิลลิเมตรปรอท, -๒.๑๒ ± ๐.๗๙ ครั้งต่อนาที*มิลลิเมตรปรอท ตามลำดับ)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านเป็นเวลา ๘ สัปดาห์มีผลทำให้ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวลดลง และช่วยลดค่าการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมการเดิน การศึกษานี้เสนอแนะว่า การออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการลดค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจ

Downloads

Published

2017-09-19

Issue

Section

Original Articles