Vest style breast phantom for practicing in mammography positioning

Authors

  • Thunyarat Chusin Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University, Mueang, Phitsanulok 65000
  • Jutamas Sandaeng Department of Radiological Technology, Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University
  • Kanjanaporn Jirakittikool Department of Radiological Technology, Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University
  • Supakorn Aukusonsomboon Department of Radiological Technology, Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University
  • Sararat Mahasaranon Department of Chemistry, Faculty of Science, Naresuan University
  • Arkom Thongprong Department of Art and Design, Faculty of Architecture, Naresuan University

Keywords:

Breast phantom, Mammogram, Mammography positioning, หุ่นจำลองเต้านม, การตรวจเอกซเรย์เต้านม, การจัดท่าถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม

Abstract

Introduction: To produce a breast phantom to be used for practicing in mammographic positioning and imaging.

Method: The breast phantom were constructed in a plaster mold then cut out it in vest style. The phantom’s skin was developed from latex compound similar to that used in rubber gloves. Adipose tissue was produced from a polymer gel formulation. The breast’s lesions were produced from egg shell and a natural latex rubber together with the process for production of foam rubber. The developed breast phantom was evaluated responding in practical use by five radiologic technologists (RTs) and fourteen RT students. Image qualities of the breast phantom were evaluated using qualitative and quantitative evaluation criteria.

Result: The breast phantom was a vest model; the breasts of the phantom vest contained 1,500 grams of the polymer gel on each side and were mounted with three simulated lesions on the right side. The responding to the breast phantom in practical use from the RTs and RT students were at good and very good levels (mean 3.83 and 4.25). The qualitative image quality of the breast phantom on craniocaudal and mediolateral oblique views from the RTs were at good and fair levels respectively (mean 3.45 and 3.40). The pixel value of the phantom breast tissue (mean 41.65 and 42.92) was similar to human breast tissue (mean 36.00 and 38.18).

Discussion and Conclusion: The developed breast phantom can be successfully used to enable practice in mammographic positioning and imaging.

หุ่นจำลองเต้านมแบบเสื้อสวมใส่สำหรับฝึกปฏิบัติการจัดท่าถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม

บทนำ: พัฒนาหุ่นจำลองเต้านมสำหรับใช้ฝึกปฏิบัติการจัดท่าและสร้างภาพเอกซเรย์เต้านม

วิธีการศึกษา: สร้างหุ่นจำลองในแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์และนำชิ้นงานที่ได้มาตัดเย็บให้อยู่ในรูปแบบเสื้อสวมใส่ ผิวหุ่นจำลอง สร้างขึ้นโดยการปรับปรุงสูตรยางพาราสำหรับผลิตถุงมือยาง เนื้อเต้านมชนิดไขมันสร้างขึ้นโดยใช้สูตรพอลิเมอร์เจล พยาธิสภาพในเต้านมสร้างขึ้นโดยใช้เปลือกไข่และน้ำยางธรรมชาติทำให้เป็นยางฟองน้ำ ประเมินทัศนคติต่อ่หุ่นจำลองหลังจากการใช้งาน โดยนักรังสีเทคนิค จำนวน ๕ คน และนักศึกษา จำนวน ๑๔ คน ประเมินคุณภาพของหุ่นจำลองโดยใช้เกณฑ์ประเมินเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

ผลการศึกษา: หุ่นจำลองเต้านมในรูปแบบเสื้อสวมใส่ มีเนื้อเต้านมข้างละ ๑,๕๐๐ กรัม และมีพยาธิสภาพจำลองจำนวน ๓ ชนิดอยู่ทางด้านขวา ผลการประเมินทัศนคติต่อหุ่นจำลอง โดยนักรังสีเทคนิค และนักศึกษา หลังการใช้งานหุ่นจำลองพบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย ๓.๘๓ และ ๔.๒๕) ผลการประเมินคุณภาพของภาพเอกซเรย์เต้านมของหุ่นจำลอง โดยนักรังสีเทคนิค พบว่าคุณภาพของภาพ craniocaudal อยู่ในระดับมาก และภาพ mediolateral oblique อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย ๓.๔๕ และ ๓.๔๐) ค่าพิกเซลของเนื้อเต้านมหุ่นจำลอง (ค่าเฉลี่ย ๔๑.๖๕ และ ๔๒.๙๒) มีค่าใกล้เคียงกับเนื้อเต้านมมนุษย์ (ค่าเฉลี่ย ๓๖.๐๐ และ ๓๘.๑๘)

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: หุ่นจำลองเต้านมที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ฝึกปฏิบัติการจัดท่าและถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมได้

Downloads

Published

2017-09-19

Issue

Section

Original Articles