Giant cell tumor of bone

Authors

  • Krit Boontanapibul Department of Orthopedic Surgery, Chulabhorn International College of Medicine, Thammasat University

Keywords:

Giant cell tumor, Benign bone tumor, Primary bone tumor, Expansile osteolysis, เนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้าย, เนื้องอกปฐมภูมิ, เนื้องอกทำลายกระดูก

Abstract

    Giant cell tumor (GCT) is a benign bone tumor. Incidence of GCT accounts for 20% of primary bone tumor in Asia. The peak incidence of occurrence is between 30 - 40 years of life. The most common locations of GCT are distal femur, proximal tibia and distal end radius, respectively. GCT is relative aggressive bone tumor because it has potential of pulmonary metastasize 3 - 4% and high rate of recurrence. Patients are often presented with insidious pain or palpable mass at the extremity. Plain radiograph demonstrates an expansile osteolysis at epiphyseal area. MRI is the diagnosis modality of choice because it demonstrates extraosseous soft tissue extension and bone marrow involvement. MRI has significant benefit in preoperative surgical removal planning which is the mainstay of investigation. Extended intralesional curettage with thermal or chemical adjuvants is now the most common operative treatment of GCT because it can reduce rate of local recurrence. In addition, the new adjuvant medical treatment of GCT has been developed in last decade with the significant reduce of morbidity and the better clinical outcomes from unresectable disease.

 

    Giant cell tumor (GCT) เป็นเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้าย (benign bone tumor) มีอัตราการพบได้สูงถึงร้อยละ ๒๐ ของเนื้องอกกระดูกชนิดปฐมภูมิ ในประเทศแถบเอเชีย มักพบในผู้ป่วยอายุ ๓๐ - ๔๐ ปี โดยต????ำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ บริเวณเอพิไฟซิสของกระดูกฟีเมอร์ กระดูกทิเบีย และกระดูกเรเดียสส่วนปลาย ตามลำดับ ถึงแม้ว่า GCT ไม่ใช่เนื้องอกชนิดร้าย แต่มีความรุนแรงสูง
เนื่องจากสามารถแพร่กระจายไปที่ปอดได้ร้อยละ ๓ - ๔ มีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำได้สูง และมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายได้ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงเบื้องต้นด้วยเรื่องอาการปวด หรืออาจคล????ำได้ก้อนที่บริเวณกระดูกที่มีรอยโรค ภายหลังเอกซเรย์จะพบลักษณะของเนื้องอกทำลายกระดูกที่มีลักษณะขยายออก (expansile osteolysis) การส่งตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นเครื่องมือในการช่วยวินิจฉัยหลัก เพราะสามารถประเมินการกระจายของเนื้องอกกระดูกสู่เนื้อเยื่อรอบข้างและไขกระดูก มีประโยชน์ในการวางแผนผ่าตัดซึ่งถือเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วย GCT การใช้ความร้อน และการใช้สารเคมีเฉพาะที่ร่วมกับการผ่าตัดได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสามารถลดอัตราการเกิดเป็นซ????้ำของเนื้องอกได้ นอกจากนี้ในทศวรรษที่ผ่านมาการรักษาโดยการใช้ยามีการพัฒนามากขึ้นจึงสามารถช่วยลดภาวะทุพพลภาพ และภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดในตำแหน่งที่มีความซับซ้อนได้

Downloads

Published

2017-09-19

Issue

Section

Review Articles