การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กร วิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

Main Article Content

วิยะดา รัตนสุวรรณ
สุมาลี เอี่ยมสมัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินสภาพการณ์การสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กร วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ดำเนินการวิจัยระหว่าง 1 มิถุนายน 2553 ถึง 31 มกราคม 2555 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาสภาพการณ์การสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ (2) การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการ ความรู้ และ (3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กร กลุ่มตัวอย่าง ที่เข้าร่วมในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการพัฒนาการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง 5 ท่าน อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลจำนวน 440 ท่าน และผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลจำนวน 12 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย Factor analysis, Dependent T-test และ ใช้ content analysis วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กรวิทยาลัยพยาบาล มี 4 องค์ประกอบคือ (1) บรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, (2) ความไว้เนื้อเชื่อใจ, (3) ความรักในองค์กร และ (4) การผลักดันของผู้บริหาร สำหรับ รูปแบบในการสร้างวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้ในองค์กรวิทยาลัยพยาบาล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ KM ขององค์กร, (2) ประเมินวัฒนธรรม KM ในองค์กร ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน, (3) วิเคราะห์วัฒนธรรม KM ที่ต้องการปรับเปลี่ยน, (4) นำปัจจัยองค์ประกอบการสร้างเสริมวัฒนธรรม KM มาผลักดันวัฒนธรรม KM, และ (5) ประเมินผลการสร้างเสริมวัฒนธรรม KM ในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการประเมินว่ามีความพึงพอใจในโครงการอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีในการเตรียมความพร้อมนักศึกษา สำหรับนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการเตรียมความพร้อม พบว่าในปีการศึกษา 2553 มีร้อยละของผู้สอบผ่านทุกรายวิชาในการสอบครั้งแรกเท่ากับร้อยละ 80.24 เป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่งของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ ควรมีการนำรูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการองค์ความรู้ไปใช้พัฒนาวิทยาลัยพยาบาลอื่นๆ เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพขององค์กรวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกต่อไป

 


The Development of the Knowledge Management Culture Promotion Model for Nursing Colleges under the Jurisdiction of Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, Thailand

Wiyada Ratanasuwan*

Sumalee Eamsamai**

Abstract

This research and development aimed to assess situation of knowledge management culture (KM culture), to develop the KM culture promotion model, and to test the effectiveness of the KM culture promotion model in nursing colleges under the jurisdiction of Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, Thailand. The study was implemented between 1st July 2010 and 31st January 2012. There were 3 phases of research: (1) assessing the situation of KM culture, (2) developing the KM culture promotion model, and (3) evaluating the effectiveness of KM culture promotion model. Participants were 5 directors of universities where was continuously implemented KM, 440 nursing instructors and 12 directors of the nursing colleges. Factor analysis, Dependent T-test and content analysis were used to analyze the data.

The finding revealed that there were 4 components influenced to KM culture in the nursing colleges: (1) learning organization atmosphere, (2) trust, (3) sense of love in the organization, and (4) support from the leaders. There were 5 steps of the KM cultural model: (1) finding the organization visions and strategies, (2) assessing current organization KM culture, (3) analyzing KM culture needed to change, (4) supporting by KM culture components, and (5) evaluating the effects of KM culture continuously. In addition, nursing instructors who participated in the project reported that they had high satisfaction because the model promoted learning organization atmosphere, and they also had the good practices in order to prepare the readiness of nursing students for taking nursing licensure examination. Also, the majority of students (80.24%) who participated in the project could pass the nursing licensure examination which is the highest score in the national examination compared to nursing colleges under the jurisdiction of Praboromarajchanok institute. Research suggests that this KM culture promotion model should be applied in other nursing colleges in order to promote the effectiveness of organizations.

* Director, Boromarajonani College of Nursing, Phayao,

** Nurse Instructor, Boromarajonani College of Nursing, Praputhabat

Article Details

How to Cite
1.
รัตนสุวรรณ ว, เอี่ยมสมัย ส. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมวัฒนธรรมการจัดการความรู้ในองค์กร วิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2013 Sep. 17 [cited 2024 Mar. 29];23(2):65-78. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/11898
Section
บทความวิจัย