ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มีภาวะทุพโภชนาการ*

Main Article Content

ปัญญภัทร ภัทรกัณทากุล**
จินตนา ดอนลาว**

Abstract

บทคัดย่อ

       ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ  เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและมีอาการเหนื่อยหอบกำเริบเฉียบพลัน การพยากรณ์ของโรคแย่ลง ส่งผลต่อภาวะสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการเป็นการช่วยลดผลกระทบดังกล่าว  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีรูปแบบศึกษาเป็นการสังเกตติดตามไปข้างหน้าแบบ กลุ่มเดียววัดผลซ้ำหลายครั้ง สถานที่ศึกษาคือ คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะ                          ทุพโภชนาการจำนวน  20 ราย  ทำการศึกษา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเมษายน 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (SNAQ) 3) แบบบันทึกชนิดและปริมาณอาหารที่ได้รับใน 1 วัน  4)  แบบบันทึกตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับโปรตีนในเลือด ระดับอัลบูมินในเลือด และจำนวนเม็ดเลือดขาว 5) แบบประเมินผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  (CAT) และ 6) โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ repeated measures ANOVA

       ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังให้โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการมีน้ำหนัก ดัชนีมวลกายผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับโปรตีน ระดับอัลบูมิน จำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น และคะแนนผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลง (p < 0.01)

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะทุพโภชนาการ ควรได้รับการส่งเสริมโภชนาการโดยบุคลากรทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะสุขภาพ โดยรวมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

Effects of Nutritional Promotion Program for Chronic Obstructive

Pulmonary Disease Patients with Malnutrition

Panyapat Pattarakantakul*

       Jintana Donlao*

Abstract

          Malnutrition is one of the major problems frequently found among Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) patients. It is a factor that increases susceptibility to infection due to low immunity and is also a cause of acute exacerbation and poor prognosis. Furthermore, it significantly impacts health status and quality of life. Management of malnutrition will decrease all impacts. The purpose of this study was to examine nutritional status among COPD patients after using a nutritional promotion program. A quasi-experimental research was designed with prospective observation study and one-group serial measure. A sample of COPD patients with malnutrition was selected and followed up at the non-communicable disease clinic of Phayamengrai Hospital, Chiang Rai province, during November 2014 to April 2015. The research instruments included: 1) demographic data,  2) nutritional                          assessment (SNAQ), 3) 24-hour food intake,  4) record form of studied variables: body weight, body mass index (BMI), laboratory tests such as total protein, serum albumin, and total lymphocyte,  5) COPD assessment tool (CAT score), and 6)  nutritional promotion program. Data were analyzed with descriptive statistics and repeated measures ANOVA.

            The results of this study found that after using the nutritional promotion program, patients had increased body weight , body mass index (BMI), total protein, serum albumin, total lymphocyte and decreased CAT score (p < .01).

          This study suggests that health care providers should promote nutritional status in order to improve health status and quality of life in patients with COPD.

 

*PhayamengraiHospital, ChiangRai

Article Details

How to Cite
1.
ภัทรกัณทากุล** ป, ดอนลาว** จ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มีภาวะทุพโภชนาการ*. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2017 Aug. 30 [cited 2024 Apr. 20];27(2):69-7. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/97706
Section
บทความวิจัย