Effectiveness of the Nursing Practice Guidelines on the Anxiety of Patients with Advanced Liver Cancer

Authors

  • สุดารัตน์ บุตรลักษณ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รัชนี นามจันทรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วารินทร์ บินโฮเซ็น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Keywords:

มะเร็งตับระยะลุกลาม, ความวิตกกังวล, แนวปฏิบัติการพยาบาล, advanced liver cancer, anxiety, nursing practice guideline

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามก่อน ระหว่าง และหลังได้รับแนวปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและมีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง จากการประเมินโดย Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ขนาดอิทธิพล (Effect Size) จากการศึกษาที่มีมาก่อน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ดำเนินการในระยะ 3 วันแรกที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาล กิจกรรมประกอบด้วย การบรรเทาอาการที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและสอนวิธีการจัดการอาการให้กับผู้ป่วย การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษาตามความต้องการของผู้ป่วยพร้อมคู่มือ การดูแลประคับประคองทางด้านอารมณ์ด้วยวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านความเจ็บป่วย และแบบประเมินความวิตกกังวล State Trait  Anxiety Inventory Form X-I (STAI Form X-I) ของ Spielberger แปลโดย พิราวรรณ โต่งจันทร์ และคณะ วัดคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และหลังการให้การพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย Friedman test และ Wilcoxon signed rank test

           ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยอันดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยระหว่างและหลังได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ยอันดับความวิตกกังวลก่อนได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และคะแนนเฉลี่ยอันดับความวิตกกังวลหลังได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล น้อยกว่าระหว่างได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

          ผลการวิจัยสนับสนุนประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับระยะลุกลามที่มีความวิตกกังวล และควรมีการศึกษาวิจัยในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มอื่นและในระยะอื่นของโรคต่อไป

Effectiveness of the Nursing Practice Guidelines on the Anxiety of Patients with Advanced Liver Cancer

          This quasi-experimental research aimed to compare the anxiety scores of patients with advanced liver cancer before, during, and after receiving nursing practice guidelines. Twenty hospitalized patients with advanced liver cancer who were moderately anxiety assessed by Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) were purposively selected. The sample size was determined by using the effect size of a previous study. The nursing practice guideline was developed by the researchers from the literature review. The guideline was implemented for the patients in the first 3 days of their hospitalization. The activities in the guideline included relief of distressed symptoms and management instruction for the symptoms, giving knowledge and information about the disease and individualized treatment with a handbook, emotional support through relaxation technique, and providing continuing care. Data were collected by a personal and illness recording form and Spielberger’s State Trait Anxiety Inventory Form X-1 translated into Thai by Tongjun, et al. The patients’ anxiety scores were measured before, during, and after receiving the nursing practice guideline. Descriptive statistics, Friedman test, and Wilcoxon signed rank test were used for data analysis.

          The research results found that the mean rank of the patients’ anxiety scores during and after receiving the nursing practice guideline were significantly less than  before the intervention (p<.001), and the mean rank of the patients’ anxiety scores after the intervention was also significantly less than during the intervention (p<.001).

          The research results support the effectiveness of the nursing practice guideline in caring for advanced liver cancer patients who are anxious. Further research should be extended to other groups or other stages of cancer.

Downloads

Published

2018-04-16

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)